วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การปฏิวัติฝรั่งเศสปีค.ศ.1789


การปฏิวัติฝรั่งเศสปีค.ศ.1789
กล่าวถึงสาเหตุการปฏิวัติฝรั่งเศสในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม สาเหตุปัจจุบันและผลของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 มาโดยละเอียดว่า
การปฏิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ.1789เป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุโรปศตวรรษที่18ก่อให้เกิดผล กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองของยุโรป โดยมีสาเหตุมาจากด้านการคลังเป็นพื้นฐานสำคัญ การปฏิวัติดังกล่าวเป็นการทำขึ้นโดยชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง
สาเหตุทั่วไปในการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789
สาเหตุด้านการปกครองการเมือง เป็นเพราะกลไกทางการเมืองของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพและขาดความเป็นระเบียบแบบแผนซึ่งกลไกต่างๆก็มีดังนี้
พระมหากษัตริย์และรัฐบาลกลางการปกครองของประเทศเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด แต่ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มิทรงได้ใช้พระราชอำนาจอันเด็ดขาดในการปกครองประเทศบริหาร พระองค์ทรงไม่กล้าตัดสินพระทัยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะด้วยบุคลิกภาพลักษณะที่ทรงอ่อนแอ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้พวกขุนนาง ตลอดจนขณะบุคคลบางกลุ่มเรียกร้องสิทธิ์ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง
สภาท้องถิ่น เป็นสภาที่อยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางท้องถิ่น ในอดีตรัฐบาลกลางประเทศฝรั่งเศสได้พยายามจำกัดอำนาจของขุนนางท้องถิ่นเหล่านี้ แต่ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 อำนาจและอิทธิพลของขุนนางท้องถิ่นยังคงมีอยู่
สภาปาลมองต์ เป็นศาลสูงสุดแต่ละมณฑลมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายแก่พระมหากษัตริย์ จึงมีสิทธิ์ยับยั้งกฎหมายที่จะออกมาบังคับใช้ได้แต่อำนาจยับยั้งก็ได้ถูกริดรอนยกเลิกไป ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยินยอมให้สภาปามองต์กลับมีบทบาทเป็นปากเสียงของประชาชนอีกครั้งในการต่อรองของสิทธิบางอย่างในทางการเมืองจากรัฐบาล
สภาฐานันดรหรือสภาทั่วไป มีจุดหมายคือเพื่อขอมติจากประชาชนชาวฝรั่งเศสเพื่อต่อสู้กับอำนาจพระสันตะปาปา ก่อให้เกิดการแบ่งแยกประชาชนออกเป็นสามฐานันดร ได้แก่ พระ ขุนนางและสามัญชน สภาฐานันดรได้เรียกประชุมครั้งสุดท้ายสมัยพระนางมาเรีย เมดิซี ผู้สำเร็จราชการสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แต่ได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นมาจนเกือบจะนำไปสู่สงครามกลางเมืองพระนางจึงทรงสั่งปิดการประชุม
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ด้านการคลัง จึงมีกลุ่มบุคคลเรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เปิดประชุมสภาฐานันดร หลังจากที่ว่างเว้นไป 174 ปี จากการประชุมสภาฐานันดรครั้งนี้เป็นชนวนเห็นให้เกิดการปฏิวัติตามมา
สาเหตุอีกประการหนึ่งคือการไม่มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นกฎหมายแม่บทในการปกครองประเทศ จึงก่อให้เกิดผลตามมา คือ
การปกครองขาดประสิทธิภาพขาดหลักการที่แน่นอน
พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจโดยพลการ
สาเหตุด้านเศรษฐกิจ
ประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ที่ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย จึงมีผลกระทบมาจนถึงพระเจ้าหลุยส์ 16 ก่อให้เกิดผลที่ตามมาดังนี้
สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16ตกต่ำเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม มีผลต้องเผชิญหน้าไปสู่ปัญหาเกษตรกรรม เช่น ราคาอาหารเพิ่มขึ้นไม่สมดุลกับค้าจ้างที่ได้รับ
เศรษฐกิจสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16อยู่ในภาวะขาดดุลตลอดมีผลให้รัฐบาลมีหนี้สินมากขึ้น สาเหตุมาจาก
ฝรั่งเศสได้เข้ามาผัวผันสงครามกับต่างประเทศนานเกินไป
เงินที่ใช้จ่ายในราชสำนักเป็นจำนวนมากไม่ตัดทอนลง
สาเหตุทางด้านสังคม
จากการที่ฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือสหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษมีผลทำให้แนวคิดทัศนคติเกี่ยวกับเสรีภาพได้ถูกนำกลับเข้ามาในฝรั่งเศสโดยกลุ่มทหารที่เข้าร่วมสงคราม นอกจากนี้ชาวฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติจัดตั้งซาลอนขึ้นเพื่อใช้เป็นที่และเปลี่ยนความคิดการเมืองและปรัชญาชาวฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาฟิโลซอฟส์ ซึ่งนิยมการปกครองในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ ทำให้ชาวฝรั่งเศสเริ่มตระหนักถึงความไม่เสมอภาคในสังคมประเทศตนเอง
ผลที่ตามจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ปีค.ศ.1789
1.     เกิดการทำลายการปกครองแบบเก่าจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่อธิปไตยของประชาชน
2.      เกิดการยกเลิกระบอบธรรมเนียมเก่าๆ เช่น ศักดินาสวามิภักดิ์ ระบบฐานันดร
3.   ศาสนจักรในฝรั่งเศสถูกดึงเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล และเป็นการตัดอำนาจพระสันตปาปา ออกจากการควบคุมศาสนจักรในฝรั่งเศส
4.   กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์คือกลุ่มอภิสิทธิ์ชน กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ชนชั้นกลาง กรรมกรแรงงาน
5.      เป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ
6.      ก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม

7.     แนวคิดการปฏิวัติฝรั่งเศสแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ จนก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมและลัทธิเสรีนิยมในชาติอื่นๆของยุโรป


 Marie Antoinette

        La Révolution Française (partie 1) - Les années lumière
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น