กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำใหญ่ 3 สายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี ไหลมาบรรจบและโอบล้อมไว้ทุกด้าน ทำให้มีเมืองมีสภาพคล้ายกะกลางน้ำ
ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำท่า และดินตะกอนทับถมจากฤดูน้ำหลากกลายเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก
มีเส้นทางน้ำสายต่างๆ เชื่อมต่อถึงกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นเมืองท่า
และชุมทางการค้าที่สำคัญ
แม้จะมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบเป็นปราการอย่างดีทางธรรมชาติแล้ว ในการรบของกรุงศรีอยุธยานิยมใช้วิธีการตั้งรับอยู่ในพระนคร
จึงการสร้างกำแพงเมืองและป้อมไว้ด้วยอีกชั้นหนึ่ง
(บทโทรทัศน์รายการจดหมายเหตุกรุงศรีฯ ตอน ภูมิสัณฐานของเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา)
ตามคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมกล่าวถึงสัณฐานของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ว่า
“จะกล่าวถึงภูมิลำเนาของกรุงเทพมหานคร
บวรทวาระวดีศรีอยุธยาราชธานีพระนครตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยาม
มีแม่น้ำล้อมรอบเกาะเมือง เกาะนั้นมีสัณฐานคล้ายสำเภานาวา”
มีอีกคนหนึ่งที่มองสัณฐานของเกาะกรุงศรีฯ
ต่างออกไปจากนี้นั้นก็คือ ลาลูแบร์ ในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ เรื่อง
ราชอาณาจักรสยาม ก็ได้กล่าวถึงสัณฐานของเกาะเมืองไว้ว่า มีรูปร่างคล้ายๆ ถุงย่าม
ปากถุงอยู่ทางทิศตะวันตก
เอนเยลเบิร์ต
แกมป์เฟอร์ นายแพทย์ชาวเยอรมัน (สมัยพระเพทราชา) มองว่า เกาะที่กรุงตั้งอยู่นี้มีสัณฐานดั่งฝ่าเท้า
ซึ่งสันเท้าหันไปทางทิศตะวันตก ไม่ว่าจะเหมือนหรือรูปร่างสัณฐานเป็นเช่นไรก็ตาม
ราชอาณาจักรแห่งนี้ก็มีอายุยืนยาวถึง 417 ปี
ภาพกรุงศรีอยุธยา จากเมืองโบราณ
กรุงเทพมหานครปัจจุบัน ดูจากการวางตัวของป้อมรอบกรุงฯ จะเห็นว่าเหมือนหอยสังข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น