วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภาษาบาลีมาจากไหน ?


ภาษาบาลีมาจากไหน ?
โครงการ สัมมนา จากอดีตสู่อนาคต : การศึกษาภาษาบาลี – สันสกฤต และภารตวิทยาในประเทศไทย จัดโดย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความรู้ที่ได้จากสัมมนาต้องเป็นเรื่องอื่นใดไปไม่ได้นอกจากภาษาบาลี และสันสกฤต
ช่วงแรกของการสัมมนา “ปริทัศน์การศึกษาภาษาบาลี-สันสกฤต และภารตวิทยาในประเทศไทย”ความรู้เรื่องภาษาบาลี และสันสกฤตมีมาช้านานนับพันปี โดยเฉพาะภาษาบาลีที่ใช้ในการจารจารึกพระธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นภาษาที่ไม่ในชีวิตประจำวัน มีให้พบในงานวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และการศึกษาพระธรรมเท่านั้น นั่งฟังแล้วเกิดความสงสัยว่าภาษาบาลีที่ใช้ในการศึกษาพระธรรมและเรียนในวิชาภาษาไทยนี้มีที่มาจากที่ใดกันแน่เลยไปนั่งหาอ่านเพิ่มเติม จากการศึกษาค้นคว้าของนักภาษาศาสตร์ แบ่งตามทฤษฎีที่ศึกษาออกเป็น ๔ กลุ่ม แนวคิดในกลุ่มที่หนึ่งเชื่อว่าภาษาบาลีมาจากภาษามาคธีเป็นแนวคิดของพระพุทธโฆสะที่ได้รับการยอมรับ พระพุทธโฆสะมีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้แต่งพระอรรถกถาคือ คัมภีร์ที่นำ ศัพท์ วลี ประโยค ที่ยากๆในพระไตรปิฎกมาอธิบายให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ที่แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับเพราะพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่คำสอนในแคว้นมคธ ซึ่งแคว้นมคธอยู่ภาคตะวันออกของอินเดียใช้ภาษามาคธีในการสื่อสารกันเปรียบกับภาษากลางที่โลกปัจจุบันใช่สื่อสารคือภาษาอังกฤษนั้นเอง แต่แนวคิดนี้ก็มีผู้คัดค้านเพราะภาษาบาลีและมาคธีมีไวยกรณ์หลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน
แนวคิดที่สองเชื่อว่าภาษาบาลีมาจากภาษาถิ่นของแคว้นอุชชยินี หรือแคว้นอุชเชนี อยู่ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย เพราะบาลีมีลักษณะคล้ายจารึกพระเจ้าอโศกที่เมืองคีย์นาร์ และภาษานี้เป็นภาษาแม่ของพระมหินทเถระผู้ที่ไปเผยแผ่พระธรรมไปยังลังกา
ภาษาบาลีเป็นภาษาของแคว้นกลิงคะ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย แนวคิดนี้คัดค้านแนวคิดของคนที่เชื่อว่าบาลีมาจากแคว้นอุชเชนี และหักล้างแนวคิดที่สองที่ว่าพระศาสนาเผยแผ่ไปถึงลังกาได้นั้นมาจากผู้คนที่ติดต่อค้าขายบริเวณนั้นหาได้ใช่พระมหินทเถระไม่ เรื่องการไปลังกาของพระรูปนี้อาจเป็นเรื่องแต่งขึ้นโดยอิงกับบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งนั้นคือพระเจ้าอโศก เพื่อให้ดูว่าศาสนาพุทธมีความยิ่งใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าไหร่นัก ผู้ที่คักค้านแนวคิดนี้มองว่ากาษาที่ใช้ในกลิงคะเพียงแค่เหมือนบาลีเท่านั้น
แนวคิดที่สี่เชื่อว่าภาษาบาลีมาจากภาษาอรรธมาคธี มีนักภาษาศาสตร์ตั้งชื่อว่าภาษาปรากฤตของเชน เพราะพวกเชนใช้ภาษานี้ในการบันทึกพระวินัยของตน ในกลุ่มนี้คนที่เชื่อเช่น ลูเดอร์มองว่าภาษาอรรถมาคธีเหมือนบาลีมากกว่าจากการศึกษาผ่านทางวรรรกรรม จารึกที่ปรากฏ คำนึงถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ทั้งสี่แนวคิดนี้มีเหตุผลและหลักฐานด้วยกันทั้งหมด จึงไม่มีใครกล้าฟันธงเสนอว่าควรเป็นเช่นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากตรงนี้อย่างชัดเจน
ที่มาข้อมูล:  หนังสือ ประวัติภาษาบาลี ความเป็นมาและที่สัมพันธ์กับภาษาปรากฤตและสันสกฤต พระมหาปฐมพงษ์ งามล้วน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น