ภาพจาก ch3thailand |
อ.ศัลยา (ซ้าย) อุ้ย รอมแพง (กลาง) |
ละครที่กำลังเป็นที่นิยม
ณ ช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้น “บุพเพสันนิวาส” ที่กำลังออกอากาศทางช่อง 3 ด้วยความสนุกสนานแทรกไปด้วยสาระความรู้เกร็ดประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อระหว่างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงสมเด็จพระเพทราชาที่มีความสับสนความขัดแย้งทางการเมืองการเข้ามามีอิทธิพลของต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศสเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อุ้ย รอมแพง นามปากกาของจันทร์ยวีร์ สมปรีดา ผู้ประพันธ์ที่ใช้เวลากว่าสามปีในการศึกษาหาข้อมูลและเขียนจนสำเร็จเป็นหนึ่งงานชิ้นโบว์แดงนี้ได้
เมื่อนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ยังได้รับเสียงชื่นชมอย่างไม่ขาดสายด้วยเหตุผลหนึ่งนั้นต้องยกความดีนี้ให้อ.ศัลยา สุขะนิวัตติ์นักเขียนบทละครโทรทัศน์ที่คร่ำหวอดในวงการโทรทัศน์มากกว่าสามสิบปีเป็นผู้รังสรรค์บทละครบุพเพสันนิวาสและสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นด้วยเครื่องแต่งกายที่สืบค้นข้อมูลด้วยความตั้งใจของกิจจา ลาโพธิ์ผู้สร้างสรรค์ออกแบบเครื่องแต่งกายที่ฝากผลงานไว้ทั้ง ขุนศึก
ข้าบดินทร์ หรือ หนึ่งด้าวฟ้าเดียวที่ใกล้จะได้ออกอากาศเร็วๆ นี้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้ชมรมพิพิธสยามต้องเชิญทั้งสามบุคคลเบื้องหลังความสำเร็จของละครมานั่งเสวนาสบาย ๆพร้อมเล่าเรื่องราวเบื้องหลังที่ใครหลายคนไม่ทราบ ต่อไปนี้จะส่วนหนึ่งของการเสวนา
กว่าจะเป็น บุพเพสันนิวาส ที่จัดขึ้นวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๑
ทำไมถึงเป็น
“บุพเพสันนิวาส”
อุ้ย รอมแพง กล่าวว่า เมื่อ ปี 2549 ตนอยากเขียนนิยายประวัติศาสตร์ ที่อ่านง่ายเมื่อไปอ่านพงศาวดาร ก็สนุกกับเรื่องราวโดยเฉพาะเรื่องของชีปะขาวที่เดินทางไปกับเรือของราชทูตหรือนักเลงสุราเมาเหล้าเป็นฑูตแต่ในความเป็นจริงต้องการไปสืบราชการ และมีแรงบันดาลจากละครนิยายหลายๆ เรื่อง อย่าง ทวิภพ สายโลหิต ละครหลายเรื่องล้วนเป็นแรงบันดาลใจและการเวียนว่ายตายเกิด ตายแล้วไปไหนนี่เป็นแรงบันดาลใจอีกเรื่องที่สำคัญมากๆกับบุพเพสันนิวาส
จริงๆ แล้วแรกเริ่มจะหยิบยกเรื่องราวในสมัยรัชกาลที่ ๕ และการเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๒แต่ว่าทั้งสองเหตุการณ์ไม่เหมาะกับพล๊อตนิยายที่ตนเองกำลังจะเขียนซึ่งเป็นแนวโรแมนติกความรักหนุ่มสาวผิดกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีสีสันการค้ากับต่างชาติซึ่งเข้ากับแนวนิยายที่กำลังจะเขียนนี้มากกว่า
ส่วนตัวเรียนจบประวัติศาสตร์ศิลปะ หากตนย้อนเวลาไปได้คงแสดงออกแบบเกศสุรางค์กรอปกับมีความประทับใจในศิลปะอยุธยา วัดชัยวัฒนาราม ไปล่องเรือ ตัวเองสมมติที่ตั้งบ้านพ่อหมื่นเขียนให้ตัวละครมีเทาๆ(มีดีและเลวปะปนกันไปเพราะไม่มีใครดีไปทุกสิ่ง)โดยเฉพาะตัวหมื่นสุนทรเทวาที่มาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ที่เป็นบุตรชายท่านฑูตที่ไปโปรตุเกสเลยจับมาเป็นลูกออกญาโหราธิบดี ส่วนศรีปราชญ์ เป็นบุคคลที่ไม่มีในบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่ให้เพิ่มเข้าไปเพื่อสร้างสีสันให้กับเรื่อง
อุ้ย รอมแพง กล่าวว่า เมื่อ ปี 2549 ตนอยากเขียนนิยายประวัติศาสตร์ ที่อ่านง่ายเมื่อไปอ่านพงศาวดาร ก็สนุกกับเรื่องราวโดยเฉพาะเรื่องของชีปะขาวที่เดินทางไปกับเรือของราชทูตหรือนักเลงสุราเมาเหล้าเป็นฑูตแต่ในความเป็นจริงต้องการไปสืบราชการ และมีแรงบันดาลจากละครนิยายหลายๆ เรื่อง อย่าง ทวิภพ สายโลหิต ละครหลายเรื่องล้วนเป็นแรงบันดาลใจและการเวียนว่ายตายเกิด ตายแล้วไปไหนนี่เป็นแรงบันดาลใจอีกเรื่องที่สำคัญมากๆกับบุพเพสันนิวาส
จริงๆ แล้วแรกเริ่มจะหยิบยกเรื่องราวในสมัยรัชกาลที่ ๕ และการเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๒แต่ว่าทั้งสองเหตุการณ์ไม่เหมาะกับพล๊อตนิยายที่ตนเองกำลังจะเขียนซึ่งเป็นแนวโรแมนติกความรักหนุ่มสาวผิดกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีสีสันการค้ากับต่างชาติซึ่งเข้ากับแนวนิยายที่กำลังจะเขียนนี้มากกว่า
ส่วนตัวเรียนจบประวัติศาสตร์ศิลปะ หากตนย้อนเวลาไปได้คงแสดงออกแบบเกศสุรางค์กรอปกับมีความประทับใจในศิลปะอยุธยา วัดชัยวัฒนาราม ไปล่องเรือ ตัวเองสมมติที่ตั้งบ้านพ่อหมื่นเขียนให้ตัวละครมีเทาๆ(มีดีและเลวปะปนกันไปเพราะไม่มีใครดีไปทุกสิ่ง)โดยเฉพาะตัวหมื่นสุนทรเทวาที่มาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ที่เป็นบุตรชายท่านฑูตที่ไปโปรตุเกสเลยจับมาเป็นลูกออกญาโหราธิบดี ส่วนศรีปราชญ์ เป็นบุคคลที่ไม่มีในบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่ให้เพิ่มเข้าไปเพื่อสร้างสีสันให้กับเรื่อง
การสร้างตัวละคร
การสร้างตัวละครผู้ชายนั้นก็ให้เป็นไปตามความคิดของผู้เขียนวันนี้ชอบผู้ชายแบบนี้ก็ให้ตัวเอกเป็นแบบนี้ วันนี้อย่างให้เป็นแบบนั้นก็เป็นอีกแบบหนึ่ง (หัวเราะ) ส่วนเกศสุรางค์เป็นตามบุคลิกของตัวผู้เขียนเอง ส่วนหมื่นเรืองผสมบุคลิกของคนใกล้ตัวหลายๆ คนลงไปเพื่อเพิ่มสร้างสีสันให้กับเรื่องมีความสนุกมากยิ่งขึ้น
การสร้างตัวละครผู้ชายนั้นก็ให้เป็นไปตามความคิดของผู้เขียนวันนี้ชอบผู้ชายแบบนี้ก็ให้ตัวเอกเป็นแบบนี้ วันนี้อย่างให้เป็นแบบนั้นก็เป็นอีกแบบหนึ่ง (หัวเราะ) ส่วนเกศสุรางค์เป็นตามบุคลิกของตัวผู้เขียนเอง ส่วนหมื่นเรืองผสมบุคลิกของคนใกล้ตัวหลายๆ คนลงไปเพื่อเพิ่มสร้างสีสันให้กับเรื่องมีความสนุกมากยิ่งขึ้น
ท้าวทองกีบม้าและฟอลคอนตัวละครสองตัวนี้สร้างคาแรคเตอร์อย่างไร
ฟอลคอนเป็นตัวละครที่มีความขัดแย้งในตัวเองสูงมากเดี๋ยวดีก็ดี เดี๋ยวร้ายก็ร้ายจะทำอะไรสักอย่างต้องสู้กับตัวเองอย่างมากว่าควรตัดสินใจทำหรือไม่ทำเช่นตอนเขียนจดหมายบอกความเป็นไปในราชสำนักอยุธยาว่าเป็นอย่างไรตัวฟอลคอนเองใจหนึ่งอยากจะส่งแต่อีกใจก็ไม่อยากส่งขัดแย้งในตัวเองสูงมากสาเหตุหนึ่งคือตัวของฟอลคอนน่าจะเคยเจอความสาหัสมาบ้างเพราะเคยเป็นเด็กเดินเรือผ่านความลำบากมามากส่วนโกษาปานก็เป็นคนที่มีเหตุผลการตัดสินใจต้องเป็นไปตามความคิดอ่านของคนยุคนั้นให้ได้มากที่สุด
ฟอลคอนเป็นตัวละครที่มีความขัดแย้งในตัวเองสูงมากเดี๋ยวดีก็ดี เดี๋ยวร้ายก็ร้ายจะทำอะไรสักอย่างต้องสู้กับตัวเองอย่างมากว่าควรตัดสินใจทำหรือไม่ทำเช่นตอนเขียนจดหมายบอกความเป็นไปในราชสำนักอยุธยาว่าเป็นอย่างไรตัวฟอลคอนเองใจหนึ่งอยากจะส่งแต่อีกใจก็ไม่อยากส่งขัดแย้งในตัวเองสูงมากสาเหตุหนึ่งคือตัวของฟอลคอนน่าจะเคยเจอความสาหัสมาบ้างเพราะเคยเป็นเด็กเดินเรือผ่านความลำบากมามากส่วนโกษาปานก็เป็นคนที่มีเหตุผลการตัดสินใจต้องเป็นไปตามความคิดอ่านของคนยุคนั้นให้ได้มากที่สุด
อ.ศัลยาผู้ที่รับไม้ต่อมาเขียนบทละครโทรทัศน์
อ.ศัลยา กล่าวว่า ตัวเรื่องของบุพเพสันนิวาสดูเหมือนง่าย ครบครันทุกสิ่ง (ในที่นี้คือ ที่มาที่ไปตัวละคร ความขัดแย้ง มีโครงเรื่องที่ดีเหมาะสมในการสร้างละครโทรทัศน์)แต่เขียนไปการเล่าเรื่องไปดัดแปลงจากหนังสือในละครจัดเรื่องราวเรียงลำดับใหม่ต้องเล่าที่ละเรื่องราวทำให้สนุกสนานถ้าตามหนังสือเลยคงไม่ได้เพราะหนังสือเล่าภาพใหญ่ การทำละครโทรทัศน์ต้องค่อยๆ เล่าที่ละเรื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป ในหนังสือมีน้อยต้องเอามาขยายเพิ่ม บางตอนไม่มีสาระ เช่น น้ำปลาหวาน กุ้งเผา ไม่มีสาระเลยคนจะดูไหมแต่กลับกลายเป็นว่าผิดคาด ในหนังสือมีสาระประวัติศาสตร์มาก ต้องยกมาเล่าทีละเหตุการณ์มีเรื่องราวเยอะมาก เช่น กบฎมากาซา ที่ตัดออกไป ไม่สำคัญกับเรื่องมากนักเพียงจะบอกว่าฟอลคอนเป็นผู้ปราบกบฎทำให้ขุนหลวงนารายณ์โปรดอย่างมากแต่เรื่องโกษาเหล็กนี้เก็บไว้ เช่น การสร้างป้อมตัวเขาไม่อยากสร้างไปรับส่วยซึ่งความเป็นจริงคือธรรมเนียมสมัยนั้นแต่กลับมองว่าเป็นการทุจริตจนโกษาเหล็กโดนโบยไปตายที่บ้านมีเหตุการณ์หลายเรื่องราวในนิยายเลือกเอาเหตุการณ์สำคัญมาสร้างฉาก บทสนทนา เป็นเหตุการณ์หรือไดอะล็อก
อ.ศัลยา กล่าวว่า ตัวเรื่องของบุพเพสันนิวาสดูเหมือนง่าย ครบครันทุกสิ่ง (ในที่นี้คือ ที่มาที่ไปตัวละคร ความขัดแย้ง มีโครงเรื่องที่ดีเหมาะสมในการสร้างละครโทรทัศน์)แต่เขียนไปการเล่าเรื่องไปดัดแปลงจากหนังสือในละครจัดเรื่องราวเรียงลำดับใหม่ต้องเล่าที่ละเรื่องราวทำให้สนุกสนานถ้าตามหนังสือเลยคงไม่ได้เพราะหนังสือเล่าภาพใหญ่ การทำละครโทรทัศน์ต้องค่อยๆ เล่าที่ละเรื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป ในหนังสือมีน้อยต้องเอามาขยายเพิ่ม บางตอนไม่มีสาระ เช่น น้ำปลาหวาน กุ้งเผา ไม่มีสาระเลยคนจะดูไหมแต่กลับกลายเป็นว่าผิดคาด ในหนังสือมีสาระประวัติศาสตร์มาก ต้องยกมาเล่าทีละเหตุการณ์มีเรื่องราวเยอะมาก เช่น กบฎมากาซา ที่ตัดออกไป ไม่สำคัญกับเรื่องมากนักเพียงจะบอกว่าฟอลคอนเป็นผู้ปราบกบฎทำให้ขุนหลวงนารายณ์โปรดอย่างมากแต่เรื่องโกษาเหล็กนี้เก็บไว้ เช่น การสร้างป้อมตัวเขาไม่อยากสร้างไปรับส่วยซึ่งความเป็นจริงคือธรรมเนียมสมัยนั้นแต่กลับมองว่าเป็นการทุจริตจนโกษาเหล็กโดนโบยไปตายที่บ้านมีเหตุการณ์หลายเรื่องราวในนิยายเลือกเอาเหตุการณ์สำคัญมาสร้างฉาก บทสนทนา เป็นเหตุการณ์หรือไดอะล็อก
ตัวเอกของเรื่องสร้างอย่างไรในการเขียนบท
อ.ศัลยา บอกว่า สร้างตามนิยาย ผู้เขียนบททำตามนิยายเพราะอ่านหนังสือกี่เล่มก็ตรงตามนิยายและนิยายมีโครงเรื่องที่แข็งแรงอยู่แล้ว คำบรรยายในเรื่องนำมาเป็นบทสนทนาทั้งหมด อะไรที่นางเอกคิดในใจกลับนำมาเป็นบทสนทนา เช่นว่าฟอลคอนว่า หน้าหม้อ ทั้งที่ในนิยายคิดในใจ เป็นต้น
อ.ศัลยา บอกว่า สร้างตามนิยาย ผู้เขียนบททำตามนิยายเพราะอ่านหนังสือกี่เล่มก็ตรงตามนิยายและนิยายมีโครงเรื่องที่แข็งแรงอยู่แล้ว คำบรรยายในเรื่องนำมาเป็นบทสนทนาทั้งหมด อะไรที่นางเอกคิดในใจกลับนำมาเป็นบทสนทนา เช่นว่าฟอลคอนว่า หน้าหม้อ ทั้งที่ในนิยายคิดในใจ เป็นต้น
ทำไมต้องการะเกดสวยแต่ร้าย
อุ้ย รอมแพง ให้ดูคนจากภายใน เมื่อความดีจากเกศสุรางค์กับความร้ายของการะเกดมาอยู่รวมกันเป็นสิ่งดีงามรูปลักษณ์ภายนอกของการะเกดบวกกับจิตใจที่ดีงามของเกศสุรางค์
อุ้ย รอมแพง ให้ดูคนจากภายใน เมื่อความดีจากเกศสุรางค์กับความร้ายของการะเกดมาอยู่รวมกันเป็นสิ่งดีงามรูปลักษณ์ภายนอกของการะเกดบวกกับจิตใจที่ดีงามของเกศสุรางค์
มาดูด้านการแต่งกาย
กิจจา ลาโพธิ์ ผู้รับหน้าที่ดูแลเครื่องแต่งกายของละครเรื่องนี้และรับดูแลการออกแบบเครื่องแต่งกายละครมาหลายเรื่องทั้ง
ขุนศึก ลูกทาส ข้าบดินทร์
สิ่งแรกที่กิจจา (วันนี้นุ่งโจงใส่ผ้าแถบมาเล่าในงานเสวนา) เล่าไว้คือต้องรู้ยุคสมัยฉากหลังของละครว่าเป็นยุคสมัยไหนศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลหลายแหล่งทั้งสมุดไทยดำโบราณตู้ลายลดน้ำ ภาพวาดจิตรกรรม เช่น ผ้าลายอย่าง ที่ตัวละครจะนุ่งใส่ ใคร ตัวละคร ตัวไหนใส่ห้ามบุคคลใดใส่บ้างก็ต้องรู้ ด้วยยุคนี้เป็นยุคความเฟื่องฟู สไบเป็นผ้าจากอินเดีย ต้องสั่งทำขึ้นมาใช่ในละครโดยเฉพาะ
สิ่งแรกที่กิจจา (วันนี้นุ่งโจงใส่ผ้าแถบมาเล่าในงานเสวนา) เล่าไว้คือต้องรู้ยุคสมัยฉากหลังของละครว่าเป็นยุคสมัยไหนศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลหลายแหล่งทั้งสมุดไทยดำโบราณตู้ลายลดน้ำ ภาพวาดจิตรกรรม เช่น ผ้าลายอย่าง ที่ตัวละครจะนุ่งใส่ ใคร ตัวละคร ตัวไหนใส่ห้ามบุคคลใดใส่บ้างก็ต้องรู้ ด้วยยุคนี้เป็นยุคความเฟื่องฟู สไบเป็นผ้าจากอินเดีย ต้องสั่งทำขึ้นมาใช่ในละครโดยเฉพาะ
เสื้อผ้าบ่งบอกคาแรคเตอร์ตัวละคร
กิจจาเล่าเสริม การะเกดก่อนตายนางร้ายมากต้องใช้สีแดงเป็นโทนเพราะสีแดงสื่อถึงความแรงความร้ายทำไมตอนเปิดตัว
แม่การะเกดในละครต้องใส่ชุดออกล้านนากิจจาเองต้องการให้เห็นความแตกต่างตามที่ตนตีความแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งที่พิษณุโลกการแต่งกายไม่ต่างจากอยุธยาเลย
กิจจาเล่าเสริม การะเกดก่อนตายนางร้ายมากต้องใช้สีแดงเป็นโทนเพราะสีแดงสื่อถึงความแรงความร้ายทำไมตอนเปิดตัว
แม่การะเกดในละครต้องใส่ชุดออกล้านนากิจจาเองต้องการให้เห็นความแตกต่างตามที่ตนตีความแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งที่พิษณุโลกการแต่งกายไม่ต่างจากอยุธยาเลย
แม่หญิงจันทร์วาดออกแบบตัวละครแต่งกายอย่างไร
กิจจาซึ่งดูแลด้านนี้เช่นกันมองว่าผู้แสดงเป็น จันทร์วาด บุคลิกเมื่อรวบผมแล้วดูสวยมาก จึงต้องหาทรงผมที่เหมาะกับตัวละครตัวนี้จึงหยิบทรงโองโขดงมาใช้
กิจจาซึ่งดูแลด้านนี้เช่นกันมองว่าผู้แสดงเป็น จันทร์วาด บุคลิกเมื่อรวบผมแล้วดูสวยมาก จึงต้องหาทรงผมที่เหมาะกับตัวละครตัวนี้จึงหยิบทรงโองโขดงมาใช้
BBC เคยมาสัมภาษณ์ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นการแต่งกายของตัวละคร
กิจจาตอบอย่างตรงไปตรงมา ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง จึงมีการดัดแปลงละครและภาพยนตร์ให้ต่างกัน เพราะเคยทำภาพยนตร์มาด้วยจึงเข้าใจในจุดนี้และน้อมรับคำวิจารณ์โดยเฉพาะชุดชาวต่างชาติในเรื่องก็ขึ้นอยู่กับลักษณะบุคลิกของผู้แสดงด้วยความเหมาะสมหรือคุณหญิงจำปาที่ผู้สวมบทตัวละครตัวนี้รูปร่างอวบ จึงใส่เสื้อทับก่อนใส่สไบ
มนตร์กฤษณะกาลีมาอย่างไร
อุ้ย รอมแพง กล่าวว่า มีตำนานเรื่องเกี่ยวกับกฤษณะกาลีอยู่ผู้เขียนเชื่อมโยงเอาเอง มนตร์พรางตัวได้มาจากคนแถวบ้านที่เป็นเรืองเล่าจากบรรพบุรุษของเขาอีกทีฟังแล้วก็ชอบเลยนำมาใส่ในนิยาย
กลับมาที่ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ “เขียนบทละครเรื่องใดถือว่ายากที่สุด”
อ.ศัลยา บอกว่า “สายโลหิต” ไม่มีฉากเสียกรุงฯ เล่าเรื่องใหม่ทั้งหมดในมุมมองใหม่ทั้งหมด ช่วงเวลาหนึ่งปีกับสองเดือนมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำใหม่หมด พระเจ้าเอกทัศทรงวางแผนทำศึกอย่างไรบ้าง ลบภาพเก่าที่มองว่าท่านไม่ทำอะไร อ่อนแอไม่มีผู้นำคนไหนยอมให้บ้านเมืองตนเองย่อยยับไปต่อหน้า บุพเพสันนิวาสก็เหมือนกันเหตุการณ์ที่เป็นภาพใหญ่ในเรื่องต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อทำเป็นฉากย่อยๆ ให้ได้ เช่นจดหมายที่ วิไชยเยนทร์ส่งไปให้ฝรั่งเศส แต่เกศสุรางค์นำไปบอกโกษาปานที่อาจโดนวิจารณ์มีเสียงสะท้อนอย่างไรกลับมาอีกหรือไม่ก็รอรับคำวิจารณ์
เพียงเสี้ยวเดียวของการเสวนารับรู้ได้ถึงความตั้งใจใส่ใจ อย่างละเอียดแม้จะมีข้อบกพร่องคณะผู้จัดพร้อมรับคำวิจารณ์ นับว่าเป็นบุคคลเบื้องหลังคุณภาพที่ได้เห็นในวันนี้ไม่นับรวมมะม่วงน้ำปลาหวานที่อร่อยจนใครหลายคนได้ชิมต้องบอกต่อ และความสนุกสนานที่ทำให้ผู้มาร่วมงานหัวเราะได้ตลอดจนจบงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น