วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

กว่าจะมาเป็นละครรากนครา

“ชีวิตและหัวใจไม่สำคัญเท่าการค้ำจุนบ้านเมือง”
            เป็นคำที่สะท้อนความนึกคิดอันลึกซึ้งในใจของ แม้นเมือง หญิงสาวราชธิดาเจ้าเมืองเชียงเงินที่พร้อมสละได้ทั้งชีวิตและความรัก ต่อคำสัตย์สาบานที่แลกด้วย “ความตาย”
จดใส่สมุด กว่าจะมาเป็นละครรากนครา
สยามเฮ้าส์ ถนนพระสุเมรุ กรุงเทพฯ
วิทยากร ปิยะพร ศักดิ์เกษม และ น้ำฝน พัชรินทร์
บางส่วนจากงานเสวนาในวันนี้ สนุกมาก ได้ความรู้กับมาอีกหลายอย่างที่ไม่คิดว่าจะได้รู้

ทำไมถึงเป็นนักเขียน ?
ปิยะพร : ชอบอ่านหนังสือ มีคุณพ่อเป็นแรงบันดาลใจ ไม่จำเป็นต้องเรียนอักษรศาสตร์ ผู้เขียนเรียนคุรุศาสตร์ จุฬาฯ มีงานที่มั่นคงแล้วจึงมาเป็นนักเขียนอายุใกล้ ๓๐  ช่วงนี้เขียนนิยายน้อยลง แต่เขียนบทความมากขึ้น และนำไปสร้างละครแล้วหลายสิบเรื่อง ต้องมีการรีเสริชข้อมูลก่อนรวมเวลาเป็นปีกว่าจะได้ถ่ายทำ กล่าวถึงเมืองสมมติสามเมืองหลัก คือ เมืองมัณฑ์ เมืองเชียงพระคำ เมืองเชียงเงิน

เรื่องรากนครา ลงสกุลไทย เป็นอย่างไร ?
ปิยะพร : ลงเขียนเป็นตอนๆ ลงในสกุลไทย มีการขอเปลี่ยนตอนจบเมื่อเรื่องถูกตีพิมพ์วางขาย (แฟนนิยายอินมาก) ตอนเป็นละครก็ยังมีคนอย่างให้เปลี่ยนตอนจบอยู่ (หัวเราะ) เพราะเรื่องถูกสร้างไว้แล้วตั้งใจให้เป็นเช่นนี้ เมืองสมมติที่สร้างขึ้นเชียงใหม่เป็นเมืองหลัก เชียงพระเงินอยู่ทางเฉียงตะวันออก  เชียงคำทางทิศคะวันตกเฉียงเหนือ ทางเครื่องแต่งกาย สมมติขึ้นมา เมืองมัณฑ์คือพม่า เชียงพระคำออกทางเชียงใหม่ เชียงเงินออกทางเชียงตุง สีเสื้อสวยงามมากตามทัศนะผู้เขียน เป็นสิ่งที่ผู้เขียนชื่นชมมากๆ

นิยายมักใช้ตัวละครชายเดินเรื่อง ทำไมรากนคราใช้ผู้หญิงเป็นตัวเดินเรื่อง ?
ปิยะพร : ช่วงเขียนมีกระแสเรื่องพระสุพรรณกัลยา มองว่า คนที่เป็นมหาราชยังมีสตรีเพศที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้นด้วย  นอกจากกษัตริย์ ในเรื่องมีเจ้านางต้องจากบ้านเมืองไปทำหน้าในต่างเมือง ตามท้องเรื่องรากนครานั้นเริ่มสมัยรัชกาลที่ ๕ พระชันษา ๓๑ ปี ครองราชย์มา ๑๕ ปี มีความเหมาะสมในเรื่องจริง ถ้าเทียบกับนวนิยายคือสามปีจากในเรื่องรากนครา มีการส่งเจ้าดารารัศมีมากรุงเทพฯ จึงเหมาะสมที่จะนำมาทำนิยาย ถือเป็นเสาเรื่องใหญ่ที่นำมาทำนิยายเป็นเสาหลัก เรื่องของเจ้านางเป็นเปลือกของเสา  ลงในสกุลไทยเป็นตอนๆ หนึ่งปีจึงรวมเล่ม

นวนิยายเข้ารอบซีไรท์ ?
ปิยะพร : ไม่คิดว่าจะเข้ารอบ มันคนละที่นั่งกัน มันเป็นนิยายรักทั่วไป ไม่เชื่อว่าจะผ่านเข้าไปได้ แยกให้ออกระหว่างเรื่องจริงกับนิยาย เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในหมู่นักวิชาการ เรื่องราวต่าง ๆ ตรงนี้ถูกนำไปใส่ในสะพานแสงคำ (เป็นนวนิยายตอนต่อของรากนครา) รายละเอียดบางอย่างนักวิชาการมองว่าผิด เช่น เจ้าน้อยศุภวงศ์ไปเรียนสิงคโปร์ รู้จักบริษัทบริติชบอร์เนียว ไม่มีเจ้าทางเหนือไปเรียนสิงคโปร์  เลยสมมติให้เจ้าน้อยเป็นบุตรบุญธรรมเจ้าคุณในบางกอกเพื่อไปเรียนสิงคโปร์

ฉากในละครที่พูดถึง ?
ปิยะพร : ฉากเชิดชักหุ่นกระดาษกษัตริย์เมืองมัณฑ์ แสดงให้เห็นว่าพระนางปัทมสุดายิ่งใหญ่อยู่เหนือคนทุกคนแม้แต่กษัตริย์ หรือเอาเท้าเหยียบมือมิ่งหล้าแสดงความเหนือกว่าทุกคนซึ่งไม่มีในนิยายเพิ่มมาตอนถ่ายทำ (มิ่งหล้าไม่รู้ตรงจุดนี้จึงกล้าต่อกรกับเจ้านางปัทมสุดา)

เมืองมัณฑ์ทำไมพูดภาษากลาง ?
น้ำฝน : ทุกเมืองพูดภาษาเหนือ แต่ต้องทำให้ต่างจากเมืองตรงจุดอื่นที่พูดภาษาเหนือ

การคัดเลือกนักแสดงผู้เขียนมีส่วนร่วมไหม ?
ปิยะพร : ไม่มี แต่รับรู้การคัดเลือกนักแสดง เพราะรายละเอียดของการสร้างละครมากกว่าการเขียนนิยาย ทางผู้สร้างจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบตลอด

พระนางศุภยรัตกับเจ้านางหลวงปัทมสุดา ?
ปิยะพร : เมืองในเรื่องเป็นเมืองสมมติหากเป็นเรื่องจริง คงไม่สามารถสร้างเรื่องราวทารุณที่มิ่งหล้าเจอได้ เพราะถ้าต้องติดภาพของบุคคลจริงไป ซึ่งในประวัติศาสตร์ไม่มีอยู่จริง

การเพิ่มลดตัวละครจากที่มีในนิยาย ?
ปิยะพร : อ้างถึง แดง ศัลยา การเติมตัวละครเพื่อให้พูดแทนตัวละครหลัก แต่ในเวอร์ชั่นนี้ ข่ายคำเดินทางไปเมืองมัณฑ์ด้วยพูดให้มิ่งหล้าบอกความคิดในใจตัวละครหลัก เวอร์ชั่นนี้เพิ่มตัวละครเข้าทำให้รู้ว่าเจ้าน้อยรักแม้นเมืองจริงๆ เติมละอองคำเข้าไป ทำให้รู้ว่าเจ้าน้อยรักเดียวใจเดียว ละอองคำจะแต่งงานกับจักรคำน้องเจ้าน้อย มีผลต่อนิยายตอนต่อ "สะพานแสงคำ"

การ "ทำความสะอาด" จากการถวายตัว ?
ปิยะพร : ยาคุมไม่มีทำอย่างไร เจ้านางหลวงไม่ต้องการให้ใครท้อง ใครไปถวายทำการรับใช้เจ้าหลวงต้องถูกทำความสะอาด แต่มิ่งหล้าท้าทายอำนาจเจ้านางหลวง หลอกเจ้านางหลวงจึงนำไปสู่จุดตกต่ำของตน

ฉากที่ประทับใจ ?
น้ำฝน : ฉากที่เกือบตาย อันนี้รอลุ้นในละคร ใช้เวลาถ่ายทำอย่างเดียว แปดเดือน ไม่รวมหาข้อมูล

ความสนุกเข้มข้นสามารถติดตามในละคร สัปดาห์นี้ออกอากาศติดต่อกัน ห้าวันเต็ม เริ่มศุกร์ถึงวันอังคารเสนอเป็นตอนจบ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น