อยุธยากับสังคมพหุวัฒนธรรม
จากงานเสวนาอยุธยากับสังคมพหุวัฒนธรรม ณ
สยามสมาคม อโศก (นานมาแล้ว)
พหุสังคมในอยุธยา อยุธยาจัดการสังคมอย่างไร ย้อนกลับไปถึงยุคทวารวดีมีความเป็นสังคมแบบสังคมพหุวัฒนธรรมเป็นมานานแล้ว ผู้นำในยุคนั้นได้จัดการลักษณะสังคมดังกล่าวโดยการจัดระบบที่ตนคิดว่าจะทำได้
เช่นการทำพิธีกรรมต่างๆ ปรากฎในลิลิตโองการแช่งน้ำ เพื่อการจัดการที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
สอดคล้องกับงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่อธิบายเกี่ยวกับพหุสังคมเช่นนี้ว่า
เพื่อยังประโยชน์ของอำนาจรัฐเป็นการบูรณาการในการอยู่ร่วมกันในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
แต่วัฒนธรรมความคิดต่างกัน ฉะนั้นจะต้องสร้างกฎเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ในสังคม การดำน้ำ พิสูจน์ลุยไฟ กฎหมายสมัยพระเจ้าอู่ทองมีประมาณสิบอย่าง ทั้งหมดเพื่อจัดการสังคมในสมัยนั้น กฎหมายมีการอ้างถึงกฎพระธรรมศาสตร์ ราชศาสตร์ ตัวบทกฎหมายที่รุนแรงเพิ่มมาที่หลัง เพื่อการปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสังคมยุคนี้
(อยุธยา)
สังคมพหุวัฒนธรรมคือต้นกำเนิดของสังคมอยุธยา มีการจัดการความแตกต่างนั้นให้ได้ประโยชน์ที่ลงตัว อีกประการที่สำคัญคือการทำสงครามเพื่อกวาดต้อนกำลังคน การกวาดต้อนผู้คนจากถิ่นอื่นมาอยู่รวมกันในพื้นที่โดยรอบเกาะกรุงศรีอยุธยาได้นั้น
แสดงว่ารัฐบาลยุคนั้นจะต้องมีการวางแผนเตรียมการไว้อย่างเป็นระบบอยู่ก่อนแล้ว
มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
เช่นจะให้ญี่ปุ่นไปสร้างบ้านเรือนใกล้พวกฮอลันดาก็ไม่ได้ต้องแยกกันอยู่
วิเคราะห์จากปัญหาการเมืองระหว่างรัฐ
การตีเมืองพิษณุโลกสมัยขุนหลวงพะงั่ว หรือ สมัยเจ้าสามพระยาที่กวาดต้อนมาจากเขมรสู่ราชสำนักอยุธยาจำนวนมาก ซึ่งจารึกขุนศรีไชยนครเทพระบุเอาไว้ สอดรับกับพระราชพงศาวดารหลวง และ Pinto ระบุว่ามีประชากรในอยุธยาถึงสี่แสนคนโดยเป็นชาวต่างชาติถึงหนึ่งแสนคน
สมัยพระบรมไตรโลกนาถมีการปฏิรูปการปกครองคือจัดชั้นตัวอย่างผู้คน โดยปัจจัยที่สำคัญคือการเพิ่มจำนวนประชากร จะต้องจัดสรรควบคุมกำลังพลนั้นเอง อีกตัวอย่างหนึ่งคือสงครามช้างเผือกที่มีการต้อนคนจากอยุธยาที่ทราบเพียงอาชีพ เช่น นักแสดงละครชายหญิง ช่างไม้ ช่างเหล็ก นางรำ ช่างสลัก กลึงไม้ เป็นต้น
สามตัวอย่างที่น่าสนใจคือ พราหมณ์ พวกค้าสำเภา และทหารอาสา จัดการคนกลุ่มนี้อย่างไร ทหารอาสาหน้าที่ การมีคนกลุ่มนี้เข้ามาเกิดการทำป้อมค่ายประตูหอรบ สงครามป้อมค่ายประชิด เป็นจุดจบของธรรมเนียมยุทธหัตถี
(อาจจะมีบ้างแต่ลดน้อยลง ยุทธวิธีการรบในบริเวณนี้เปลี่ยนแปลงไป) ทำให้เกิดการเปลี่ยนวัฒนธรรมสงครามไปอย่างมาก การค้าสำเภามีตำแหน่งต่างๆ กรมท่าซ้ายโชฎึกราชเศรษฐี เป็นต้น การเข้าท่าของคนต่างๆ ส่งผลต่อการกู้วิกฤตของอาณาจักรอย่างมาก สงคราม ปี พ.ศ.๒๑๑๒ เสียกรุงครั้งที่หนึ่งที่มีศึกพระยาระแวกหลักจากเสียกรุง มีกำลังพลไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองได้กวาดต้อนคนไปอีกยิ่งทำให้อาณาจักรเข้าขั้นวิกฤต
การฟื้นกำลังคนหลังจากบุเรงนองสิ้นพระชนม์มีการกวาดต้อนผู้คนเช่น ชุมชนมอญหลังวัดนก ปรากฎคำให้การหลวงประดู่ทรงธรรมกวาดต้อนผู้คนไปมาหมุนเวียนตลอดตลอดระยะเวลาหลายปี จนมาสมัยการจัดการปกครองสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ.๒๑๔๘-๒๑๕๓ ถือว่าเป็นช่วงสำคัญในการจัดการ
ปรากฎในบันทึกของฟานฟลีต ไปดูในกฎหมายที่นำออกมาใช้ในสมัยพระเอกาทศรถ สร้างความสำเร็จในการคุมคนของอาณาจักรอยุธยา โดยเฉพาะจากฝ่ายชำนาญการ
(ช่างชำนาญงานต่างๆ) ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมว่าเป็นอย่างไร
สรุปแล้วอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความหลายทางเชื้อชาติ
ภาษา ศาสนา จำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายในการปกครองผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในอาณาจักร
และในอาณาจักรมีจำนวนประชากรมากเรื่องจึงเยอะต้องมีความเข้มข้นในการใช้กฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องหากเกิดปัญหาจำนวนประชากรอาณาจักรที่ลดลงก็อาจทำให้อาณาจักรเข้าขั้นวิกฤตก็ได้เช่นเดียวกันกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองที่อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
วิเคราะห์ว่าสาเหตุหนึ่งที่อยุธยาต้องล่มสลายเพราะการจัดการคนช่วงปลายอาณาจักรอยุธยานั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น