การประชุมปฎิบัติการพัฒนาวิทยากร รุ่นที่ ๓ “ผสานพลังนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย”
ระหว่างวันที่ ๒๒ ถึง ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ได้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากร
รุ่นที่ ๓ “ผสานนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย”
การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรมตรัง และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
ช่วงแรกในวันแรกของการประชุมอบรม ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล
ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย
กล่าวแนะนำองค์กร ภาคีเครือข่าย และกิจกรรมต่างๆ ที่ ศูนย์ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแนะนำการทำงานของคณะรัฐศาสตร์เกี่ยวกับโครงการอบรมครู
อ.ภาสุดา และอ.นำโชค
นำกิจกรรมแนะนำตัว และต่อด้วย ผศ.อรรถพล นำอภิปรายถกเถียง เรื่อง ใครคือพลเมือง
พลเมืองคือใคร? พลเมืองกับพลเมืองดีต่างกันอย่างไร
พลเมืองดีและคนดีต่างกันอย่างไร? พลเมืองแบบไหนที่เราต้องการ?
โดยให้ผู้ร่วมอบรมชมวิดีทัศน์ “การให้”
ทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมากมายในหัว การกระทำของชายคนนี้เป็นสิ่งที่ดี
มีความเป็นพลเมืองหรือไม่ แล้วถ้าเป็นพลเมืองควรเป็นพลเมืองระดับไหน รวมถึงบทบาทของรัฐที่หายไปในเรื่องการดูแลสังคมที่ปรากฏอยู่ในสื่อ
วิธีการยกระดับพลเมืองรับผิดชอบที่ปรากฏในโฆษณาสู่พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมจะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
ให้ผู้อบรมร่วมกันถกเถียงอภิปรายในสิ่งที่ตนเองคิด
จากนั้นเป็นการอภิปรายกลุ่ม “ประชาชน พลเมือง พลเมือง ราษฎร
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร พลเมืองกับพลเมืองประชาธิปไตย
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร สิทธิและหน้าที่ เสรีภาพและความรับผิดชอบ
ความเสมอภาคและความเท่าเทียม การมีส่วนร่วมและการใช้เหตุผล
ชุดคำเหล่านี้ถูกให้ความหมายในมุมมองของแต่ละคนไว้อย่างไรบ้าง ”ปิดท้ายกิจกรรมประจำวัน ด้วยการเขียน learning
journal ถึงสิ่งที่ฉันจำได้ สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้
และสิ่งที่ฉันสงสัย เมื่อถึงตรงนี้ยังมีหลายอย่างที่ยังสงสัยและอยากรู้
เราจะนำเนื้อหาที่ได้ปสอนอย่างไร แล้วนักเรียนจะมีความเป็นพลเมืองมากขึ้นหรือไม่
เช้าวันที่สองของการอบรมพัฒนาครู เรื่อง
“ครูกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย”
ผู้เข้าร่วมอบรมเปลี่ยนบรรยากาศมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.อรรถพล นำกระบวนการเรียนรู้ผ่าน“เกมตัดสินใจ”เพื่อพูดคุยถกเถียงถึงประเด็นถกเถียง
๔ ประเด็น คือ
- ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดแบบตะวันตกจึงไม่เหมาะในการนำไปใช้กับทุกประเทศ
- ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดทางการปกครองที่รับรองสิทธิเสรีภาพของพื้นฐานของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
- มนุษย์ไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียม ประชาธิปไตยจึงเป็นการฝืนธรรมชาติของมนุษย์
- ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด
- ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดแบบตะวันตกจึงไม่เหมาะในการนำไปใช้กับทุกประเทศ
- ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดทางการปกครองที่รับรองสิทธิเสรีภาพของพื้นฐานของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
- มนุษย์ไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียม ประชาธิปไตยจึงเป็นการฝืนธรรมชาติของมนุษย์
- ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด
โดยผู้เข้าร่วมสามารถเลือกตัดสินใจตามมุมมองความคิดเห็นของตนและร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมท่านอื่น
ๆ
ช่วงสาย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ บรรยายและนำอภิปราย เรื่อง
“ประชาธิปไตย: ความหมาย หลักการ องค์ประกอบ และพัฒนาการ” มีประเด็นสำคัญ เช่น “พัฒนาการประชาธิปไตยคือการขยายอำนาจของประชาชนและขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน
แลเป็นการทำประชาชนให้เป็นพลเมือง เป็นการผสาน คนที่ถูก ไม่ถูกนับรวม ให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน”
“หากเปรียบเทียบรัฐเป็นคอมพิวเตอร์
ระบอบการปกครองก็เหมือนระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกันไป
แต่ละระบอบก็ตามมาด้วยสิทธิพลเมือง เสรีภาพ ที่แตกต่างกัน”
“สังคมประชาธิปไตยที่มีความบกพร่องและมีปัญหานั้นเป็นเรื่องปกติ
การวัดวุฒิภาวะของสังคมประชาธิปไตย คือ
การดูว่าสังคมจะแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไรต่างหาก”
ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย
โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ กรณีศึกษาพัฒนาการการเมืองการปกครองระหว่าง
จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และไทย คำว่า We people ในรัฐธรรมนูญอเมริกา กับการตั้งคำถามว่าใครที่ถูกนับเป็น We บ้าง และการต่อสู้ของกลุ่มคน กว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งของคำว่า We รวมถึงการตั้งคำถามต่อสังคมไทย ต่อกระบวนการพัฒนาสังคมประชาธิปไตย พร้อมwalking
tour ลงพื้นที่เรียนรู้พื้นที่ประวัติศาสตร์และบุคคลประวัติศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์
วันที่สามของการอบรมด้วยการสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนรู้เมื่อวานนี้
ทั้งในประเด็นความหมาย หลักการ
องค์ประกอบของประชาธิปไตยและพัฒนาการประชาธิปไตยทั้งในแง่ความรู้และกระบวนการ
“เรียนรู้ความหลากหลายผ่านประเด็นเรื่องเพศ”
โดยคุณโตมร จากกลุ่มมานีมานะ ตัวฉัน กับความเป็นหญิงและความเป็นชาย
พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การรับรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
“พหุนิยม การเคารพสังคมที่หลากหลาย
และการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ” โดย รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
กับการชตั้งคำถามถึงเสียงในสังคมประชาธิปไตย
เสียงของเราเท่ากันจริงหรือไม่? อะไรบ้างที่ทำให้เสียงของเราไม่เท่ากัน? ความแตกต่าง
ความหลากหลายทางสังคม ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสังคมที่มีระดับชั้น
วิธีการจัดการกับความแตกต่างหลากหลายในสังคมมนุษย์
ช่วงบ่าย
ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจ โดย อ.ดร.ประพิมพ์ฝัน เชียงกูล
พัฒนาการความเป็นประชาธิปไตยในมิติด้านเศรษฐกิจ มุมมองแบบเสรีนิยมที่มีผลต่อการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ การตั้งคำถามกับระบบทุน การทำงานขององค์กรระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความไม่เท่าเทียมทางสังคมโดยรวม บทบาทของรัฐและกลไกทางสังคมในการเข้ามาจัดการเรื่องความไม่เท่าเทียมที่เป็นผลกระทบมาจากพัฒนาทางเศรษฐกิจ พูดคุย แลกเปลี่ยน และนำเสนอมุมมองความเชื่อมโยงระหว่างชุดคำสำคัญต่าง ได้แก่ สังคมนิยม ทุนนิยม เสรีนิยม ประชาธิปไตย และเผด็จการ การแต่งงานกันของระบบเศรษฐกิจและการเมือง
ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจ โดย อ.ดร.ประพิมพ์ฝัน เชียงกูล
พัฒนาการความเป็นประชาธิปไตยในมิติด้านเศรษฐกิจ มุมมองแบบเสรีนิยมที่มีผลต่อการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ การตั้งคำถามกับระบบทุน การทำงานขององค์กรระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความไม่เท่าเทียมทางสังคมโดยรวม บทบาทของรัฐและกลไกทางสังคมในการเข้ามาจัดการเรื่องความไม่เท่าเทียมที่เป็นผลกระทบมาจากพัฒนาทางเศรษฐกิจ พูดคุย แลกเปลี่ยน และนำเสนอมุมมองความเชื่อมโยงระหว่างชุดคำสำคัญต่าง ได้แก่ สังคมนิยม ทุนนิยม เสรีนิยม ประชาธิปไตย และเผด็จการ การแต่งงานกันของระบบเศรษฐกิจและการเมือง
วันสุดท้ายของการอบรมด้วยการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดอบรมเมื่อวานในประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างประชาธิปไตยกับความแตกต่างหลากหลาย
และประชาธิปไตยกับเศรษฐกิจ "ประชาธิปไตย
ความยุติธรรมทางสังคม และการสร้างสังคมที่ปราศจากการแบ่งแยกกีดกัน"
โดย ผศ.ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า
กรณีศึกษา พระราชกำหนดแรงงานต่างด้าว
กับการตีโจทย์ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับความเป็นมนุษย์พลเมืองคือใคร อะไรบ้างที่เป็นตัวกำหนดความเป็นพลเมือง
การใช้สิทธิความเป็นพลเมืองในสังคม อัตลักษณ์ของส่วนรวม
รัฐชาติกับการกำหนดความเป็นพลเมือง ความสั่นคลอนของรัฐชาติในการกำหนดกรอบความเป็นพลเมืองในโลกโลกาภิวัตน์
อำนาจเหนือรัฐชาติ กับคำถามสำคัญในประเด็นสิทธิพลเมืองกับการอิงกับเขตแดนของรัฐชาติสิทธิมนุษยชนกับการได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์
และแนวคิดเรื่องพลเมืองข้ามชาติ
ช่วงบ่ายของวันสุดท้าย
ทบทวนความหมายของคำว่าพลเมืองที่ได้จากการอบรมตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย จากนั้นแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมตามลักษณะงาน ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ครูประถมศึกษา และครูมัธยมศึกษา ระดมสมองในประเด็น
- สิ่งที่ได้เรียนรู้ (what do we know?)
- สิ่งที่สงสัย (What do we want to know/learn?)
- สิ่งที่จะนำกลับไปใช้ในการทำงาน (Yes!! We will do.)
ทบทวนความหมายของคำว่าพลเมืองที่ได้จากการอบรมตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย จากนั้นแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมตามลักษณะงาน ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ครูประถมศึกษา และครูมัธยมศึกษา ระดมสมองในประเด็น
- สิ่งที่ได้เรียนรู้ (what do we know?)
- สิ่งที่สงสัย (What do we want to know/learn?)
- สิ่งที่จะนำกลับไปใช้ในการทำงาน (Yes!! We will do.)
กล่าวปิดการอบรมพัฒนาครู เรื่อง
“ครูกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย” โดย รศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล คณบดี
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ้างอิง
ข้อมูลจากhttps://www.facebook.com/thaiciviceducationcenter/?hc_ref=ARRwg4YfzEPc1O8jAsmYIJwKyxPSUoZmahplAYrUUveCQgr_fvUiNElZBC32FPRwYa4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น