วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

กว่าจะเป็น “บุพเพสันนิวาส”


ภาพจาก ch3thailand

อ.ศัลยา (ซ้าย) อุ้ย รอมแพง (กลาง) 





ละครที่กำลังเป็นที่นิยม ณ ช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้น “บุพเพสันนิวาส” ที่กำลังออกอากาศทางช่อง 3 ด้วยความสนุกสนานแทรกไปด้วยสาระความรู้เกร็ดประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อระหว่างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงสมเด็จพระเพทราชาที่มีความสับสนความขัดแย้งทางการเมืองการเข้ามามีอิทธิพลของต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศสเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อุ้ย รอมแพง นามปากกาของจันทร์ยวีร์ สมปรีดา ผู้ประพันธ์ที่ใช้เวลากว่าสามปีในการศึกษาหาข้อมูลและเขียนจนสำเร็จเป็นหนึ่งงานชิ้นโบว์แดงนี้ได้ เมื่อนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ยังได้รับเสียงชื่นชมอย่างไม่ขาดสายด้วยเหตุผลหนึ่งนั้นต้องยกความดีนี้ให้อ.ศัลยา สุขะนิวัตติ์นักเขียนบทละครโทรทัศน์ที่คร่ำหวอดในวงการโทรทัศน์มากกว่าสามสิบปีเป็นผู้รังสรรค์บทละครบุพเพสันนิวาสและสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นด้วยเครื่องแต่งกายที่สืบค้นข้อมูลด้วยความตั้งใจของกิจจา ลาโพธิ์ผู้สร้างสรรค์ออกแบบเครื่องแต่งกายที่ฝากผลงานไว้ทั้ง ขุนศึก ข้าบดินทร์ หรือ หนึ่งด้าวฟ้าเดียวที่ใกล้จะได้ออกอากาศเร็วๆ นี้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้ชมรมพิพิธสยามต้องเชิญทั้งสามบุคคลเบื้องหลังความสำเร็จของละครมานั่งเสวนาสบาย ๆพร้อมเล่าเรื่องราวเบื้องหลังที่ใครหลายคนไม่ทราบ ต่อไปนี้จะส่วนหนึ่งของการเสวนา กว่าจะเป็น บุพเพสันนิวาส ที่จัดขึ้นวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๑  


ทำไมถึงเป็น “บุพเพสันนิวาส
         อุ้ย รอมแพง กล่าวว่า เมื่อ ปี 2549 ตนอยากเขียนนิยายประวัติศาสตร์ ที่อ่านง่ายเมื่อไปอ่านพงศาวดาร ก็สนุกกับเรื่องราวโดยเฉพาะเรื่องของชีปะขาวที่เดินทางไปกับเรือของราชทูตหรือนักเลงสุราเมาเหล้าเป็นฑูตแต่ในความเป็นจริงต้องการไปสืบราชการ และมีแรงบันดาลจากละครนิยายหลายๆ เรื่อง อย่าง  ทวิภพ สายโลหิต ละครหลายเรื่องล้วนเป็นแรงบันดาลใจและการเวียนว่ายตายเกิด ตายแล้วไปไหนนี่เป็นแรงบันดาลใจอีกเรื่องที่สำคัญมากๆกับบุพเพสันนิวาส
       จริงๆ แล้วแรกเริ่มจะหยิบยกเรื่องราวในสมัยรัชกาลที่ ๕ และการเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๒แต่ว่าทั้งสองเหตุการณ์ไม่เหมาะกับพล๊อตนิยายที่ตนเองกำลังจะเขียนซึ่งเป็นแนวโรแมนติกความรักหนุ่มสาวผิดกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีสีสันการค้ากับต่างชาติซึ่งเข้ากับแนวนิยายที่กำลังจะเขียนนี้มากกว่า
        ส่วนตัวเรียนจบประวัติศาสตร์ศิลปะ หากตนย้อนเวลาไปได้คงแสดงออกแบบเกศสุรางค์กรอปกับมีความประทับใจในศิลปะอยุธยา วัดชัยวัฒนาราม ไปล่องเรือ ตัวเองสมมติที่ตั้งบ้านพ่อหมื่นเขียนให้ตัวละครมีเทาๆ(มีดีและเลวปะปนกันไปเพราะไม่มีใครดีไปทุกสิ่ง)โดยเฉพาะตัวหมื่นสุนทรเทวาที่มาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ที่เป็นบุตรชายท่านฑูตที่ไปโปรตุเกสเลยจับมาเป็นลูกออกญาโหราธิบดี ส่วนศรีปราชญ์ เป็นบุคคลที่ไม่มีในบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่ให้เพิ่มเข้าไปเพื่อสร้างสีสันให้กับเรื่อง


การสร้างตัวละคร
          การสร้างตัวละครผู้ชายนั้นก็ให้เป็นไปตามความคิดของผู้เขียนวันนี้ชอบผู้ชายแบบนี้ก็ให้ตัวเอกเป็นแบบนี้ วันนี้อย่างให้เป็นแบบนั้นก็เป็นอีกแบบหนึ่ง (หัวเราะ) ส่วนเกศสุรางค์เป็นตามบุคลิกของตัวผู้เขียนเอง ส่วนหมื่นเรืองผสมบุคลิกของคนใกล้ตัวหลายๆ คนลงไปเพื่อเพิ่มสร้างสีสันให้กับเรื่องมีความสนุกมากยิ่งขึ้น 


ท้าวทองกีบม้าและฟอลคอนตัวละครสองตัวนี้สร้างคาแรคเตอร์อย่างไร
          ฟอลคอนเป็นตัวละครที่มีความขัดแย้งในตัวเองสูงมากเดี๋ยวดีก็ดี เดี๋ยวร้ายก็ร้ายจะทำอะไรสักอย่างต้องสู้กับตัวเองอย่างมากว่าควรตัดสินใจทำหรือไม่ทำเช่นตอนเขียนจดหมายบอกความเป็นไปในราชสำนักอยุธยาว่าเป็นอย่างไรตัวฟอลคอนเองใจหนึ่งอยากจะส่งแต่อีกใจก็ไม่อยากส่งขัดแย้งในตัวเองสูงมากสาเหตุหนึ่งคือตัวของฟอลคอนน่าจะเคยเจอความสาหัสมาบ้างเพราะเคยเป็นเด็กเดินเรือผ่านความลำบากมามากส่วนโกษาปานก็เป็นคนที่มีเหตุผลการตัดสินใจต้องเป็นไปตามความคิดอ่านของคนยุคนั้นให้ได้มากที่สุด


อ.ศัลยาผู้ที่รับไม้ต่อมาเขียนบทละครโทรทัศน์
          อ.ศัลยา กล่าวว่า ตัวเรื่องของบุพเพสันนิวาสดูเหมือนง่าย ครบครันทุกสิ่ง (ในที่นี้คือ ที่มาที่ไปตัวละคร ความขัดแย้ง มีโครงเรื่องที่ดีเหมาะสมในการสร้างละครโทรทัศน์)แต่เขียนไปการเล่าเรื่องไปดัดแปลงจากหนังสือในละครจัดเรื่องราวเรียงลำดับใหม่ต้องเล่าที่ละเรื่องราวทำให้สนุกสนานถ้าตามหนังสือเลยคงไม่ได้เพราะหนังสือเล่าภาพใหญ่ การทำละครโทรทัศน์ต้องค่อยๆ เล่าที่ละเรื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป ในหนังสือมีน้อยต้องเอามาขยายเพิ่ม บางตอนไม่มีสาระ เช่น น้ำปลาหวาน กุ้งเผา ไม่มีสาระเลยคนจะดูไหมแต่กลับกลายเป็นว่าผิดคาด ในหนังสือมีสาระประวัติศาสตร์มาก ต้องยกมาเล่าทีละเหตุการณ์มีเรื่องราวเยอะมาก เช่น กบฎมากาซา ที่ตัดออกไป ไม่สำคัญกับเรื่องมากนักเพียงจะบอกว่าฟอลคอนเป็นผู้ปราบกบฎทำให้ขุนหลวงนารายณ์โปรดอย่างมากแต่เรื่องโกษาเหล็กนี้เก็บไว้ เช่น การสร้างป้อมตัวเขาไม่อยากสร้างไปรับส่วยซึ่งความเป็นจริงคือธรรมเนียมสมัยนั้นแต่กลับมองว่าเป็นการทุจริตจนโกษาเหล็กโดนโบยไปตายที่บ้านมีเหตุการณ์หลายเรื่องราวในนิยายเลือกเอาเหตุการณ์สำคัญมาสร้างฉาก บทสนทนา เป็นเหตุการณ์หรือไดอะล็อก 


ตัวเอกของเรื่องสร้างอย่างไรในการเขียนบท
          อ.ศัลยา บอกว่า สร้างตามนิยาย ผู้เขียนบททำตามนิยายเพราะอ่านหนังสือกี่เล่มก็ตรงตามนิยายและนิยายมีโครงเรื่องที่แข็งแรงอยู่แล้ว คำบรรยายในเรื่องนำมาเป็นบทสนทนาทั้งหมด อะไรที่นางเอกคิดในใจกลับนำมาเป็นบทสนทนา เช่นว่าฟอลคอนว่า หน้าหม้อ ทั้งที่ในนิยายคิดในใจ เป็นต้น


ทำไมต้องการะเกดสวยแต่ร้าย
          อุ้ย รอมแพง ให้ดูคนจากภายใน เมื่อความดีจากเกศสุรางค์กับความร้ายของการะเกดมาอยู่รวมกันเป็นสิ่งดีงามรูปลักษณ์ภายนอกของการะเกดบวกกับจิตใจที่ดีงามของเกศสุรางค์


มาดูด้านการแต่งกาย กิจจา ลาโพธิ์ ผู้รับหน้าที่ดูแลเครื่องแต่งกายของละครเรื่องนี้และรับดูแลการออกแบบเครื่องแต่งกายละครมาหลายเรื่องทั้ง ขุนศึก ลูกทาส ข้าบดินทร์
          สิ่งแรกที่กิจจา (วันนี้นุ่งโจงใส่ผ้าแถบมาเล่าในงานเสวนา) เล่าไว้คือต้องรู้ยุคสมัยฉากหลังของละครว่าเป็นยุคสมัยไหนศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลหลายแหล่งทั้งสมุดไทยดำโบราณตู้ลายลดน้ำ ภาพวาดจิตรกรรม เช่น ผ้าลายอย่าง ที่ตัวละครจะนุ่งใส่ ใคร ตัวละคร ตัวไหนใส่ห้ามบุคคลใดใส่บ้างก็ต้องรู้ ด้วยยุคนี้เป็นยุคความเฟื่องฟู สไบเป็นผ้าจากอินเดีย ต้องสั่งทำขึ้นมาใช่ในละครโดยเฉพาะ


เสื้อผ้าบ่งบอกคาแรคเตอร์ตัวละคร
          กิจจาเล่าเสริม การะเกดก่อนตายนางร้ายมากต้องใช้สีแดงเป็นโทนเพราะสีแดงสื่อถึงความแรงความร้ายทำไมตอนเปิดตัว

แม่การะเกดในละครต้องใส่ชุดออกล้านนากิจจาเองต้องการให้เห็นความแตกต่างตามที่ตนตีความแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งที่พิษณุโลกการแต่งกายไม่ต่างจากอยุธยาเลย


แม่หญิงจันทร์วาดออกแบบตัวละครแต่งกายอย่างไร
          กิจจาซึ่งดูแลด้านนี้เช่นกันมองว่าผู้แสดงเป็น จันทร์วาด บุคลิกเมื่อรวบผมแล้วดูสวยมาก จึงต้องหาทรงผมที่เหมาะกับตัวละครตัวนี้จึงหยิบทรงโองโขดงมาใช้


       BBC เคยมาสัมภาษณ์ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นการแต่งกายของตัวละคร
          กิจจาตอบอย่างตรงไปตรงมา ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง จึงมีการดัดแปลงละครและภาพยนตร์ให้ต่างกัน เพราะเคยทำภาพยนตร์มาด้วยจึงเข้าใจในจุดนี้และน้อมรับคำวิจารณ์โดยเฉพาะชุดชาวต่างชาติในเรื่องก็ขึ้นอยู่กับลักษณะบุคลิกของผู้แสดงด้วยความเหมาะสมหรือคุณหญิงจำปาที่ผู้สวมบทตัวละครตัวนี้รูปร่างอวบ จึงใส่เสื้อทับก่อนใส่สไบ 



       มนตร์กฤษณะกาลีมาอย่างไร
          อุ้ย รอมแพง กล่าวว่า มีตำนานเรื่องเกี่ยวกับกฤษณะกาลีอยู่ผู้เขียนเชื่อมโยงเอาเอง มนตร์พรางตัวได้มาจากคนแถวบ้านที่เป็นเรืองเล่าจากบรรพบุรุษของเขาอีกทีฟังแล้วก็ชอบเลยนำมาใส่ในนิยาย



       กลับมาที่ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ “เขียนบทละครเรื่องใดถือว่ายากที่สุด”
          อ.ศัลยา บอกว่า “สายโลหิต” ไม่มีฉากเสียกรุงฯ เล่าเรื่องใหม่ทั้งหมดในมุมมองใหม่ทั้งหมด ช่วงเวลาหนึ่งปีกับสองเดือนมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำใหม่หมด พระเจ้าเอกทัศทรงวางแผนทำศึกอย่างไรบ้าง ลบภาพเก่าที่มองว่าท่านไม่ทำอะไร อ่อนแอไม่มีผู้นำคนไหนยอมให้บ้านเมืองตนเองย่อยยับไปต่อหน้า  บุพเพสันนิวาสก็เหมือนกันเหตุการณ์ที่เป็นภาพใหญ่ในเรื่องต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อทำเป็นฉากย่อยๆ ให้ได้ เช่นจดหมายที่ วิไชยเยนทร์ส่งไปให้ฝรั่งเศส แต่เกศสุรางค์นำไปบอกโกษาปานที่อาจโดนวิจารณ์มีเสียงสะท้อนอย่างไรกลับมาอีกหรือไม่ก็รอรับคำวิจารณ์



       เพียงเสี้ยวเดียวของการเสวนารับรู้ได้ถึงความตั้งใจใส่ใจ อย่างละเอียดแม้จะมีข้อบกพร่องคณะผู้จัดพร้อมรับคำวิจารณ์ นับว่าเป็นบุคคลเบื้องหลังคุณภาพที่ได้เห็นในวันนี้ไม่นับรวมมะม่วงน้ำปลาหวานที่อร่อยจนใครหลายคนได้ชิมต้องบอกต่อ และความสนุกสนานที่ทำให้ผู้มาร่วมงานหัวเราะได้ตลอดจนจบงาน




วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

กว่าจะมาเป็นละครรากนครา

“ชีวิตและหัวใจไม่สำคัญเท่าการค้ำจุนบ้านเมือง”
            เป็นคำที่สะท้อนความนึกคิดอันลึกซึ้งในใจของ แม้นเมือง หญิงสาวราชธิดาเจ้าเมืองเชียงเงินที่พร้อมสละได้ทั้งชีวิตและความรัก ต่อคำสัตย์สาบานที่แลกด้วย “ความตาย”
จดใส่สมุด กว่าจะมาเป็นละครรากนครา
สยามเฮ้าส์ ถนนพระสุเมรุ กรุงเทพฯ
วิทยากร ปิยะพร ศักดิ์เกษม และ น้ำฝน พัชรินทร์
บางส่วนจากงานเสวนาในวันนี้ สนุกมาก ได้ความรู้กับมาอีกหลายอย่างที่ไม่คิดว่าจะได้รู้

ทำไมถึงเป็นนักเขียน ?
ปิยะพร : ชอบอ่านหนังสือ มีคุณพ่อเป็นแรงบันดาลใจ ไม่จำเป็นต้องเรียนอักษรศาสตร์ ผู้เขียนเรียนคุรุศาสตร์ จุฬาฯ มีงานที่มั่นคงแล้วจึงมาเป็นนักเขียนอายุใกล้ ๓๐  ช่วงนี้เขียนนิยายน้อยลง แต่เขียนบทความมากขึ้น และนำไปสร้างละครแล้วหลายสิบเรื่อง ต้องมีการรีเสริชข้อมูลก่อนรวมเวลาเป็นปีกว่าจะได้ถ่ายทำ กล่าวถึงเมืองสมมติสามเมืองหลัก คือ เมืองมัณฑ์ เมืองเชียงพระคำ เมืองเชียงเงิน

เรื่องรากนครา ลงสกุลไทย เป็นอย่างไร ?
ปิยะพร : ลงเขียนเป็นตอนๆ ลงในสกุลไทย มีการขอเปลี่ยนตอนจบเมื่อเรื่องถูกตีพิมพ์วางขาย (แฟนนิยายอินมาก) ตอนเป็นละครก็ยังมีคนอย่างให้เปลี่ยนตอนจบอยู่ (หัวเราะ) เพราะเรื่องถูกสร้างไว้แล้วตั้งใจให้เป็นเช่นนี้ เมืองสมมติที่สร้างขึ้นเชียงใหม่เป็นเมืองหลัก เชียงพระเงินอยู่ทางเฉียงตะวันออก  เชียงคำทางทิศคะวันตกเฉียงเหนือ ทางเครื่องแต่งกาย สมมติขึ้นมา เมืองมัณฑ์คือพม่า เชียงพระคำออกทางเชียงใหม่ เชียงเงินออกทางเชียงตุง สีเสื้อสวยงามมากตามทัศนะผู้เขียน เป็นสิ่งที่ผู้เขียนชื่นชมมากๆ

นิยายมักใช้ตัวละครชายเดินเรื่อง ทำไมรากนคราใช้ผู้หญิงเป็นตัวเดินเรื่อง ?
ปิยะพร : ช่วงเขียนมีกระแสเรื่องพระสุพรรณกัลยา มองว่า คนที่เป็นมหาราชยังมีสตรีเพศที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้นด้วย  นอกจากกษัตริย์ ในเรื่องมีเจ้านางต้องจากบ้านเมืองไปทำหน้าในต่างเมือง ตามท้องเรื่องรากนครานั้นเริ่มสมัยรัชกาลที่ ๕ พระชันษา ๓๑ ปี ครองราชย์มา ๑๕ ปี มีความเหมาะสมในเรื่องจริง ถ้าเทียบกับนวนิยายคือสามปีจากในเรื่องรากนครา มีการส่งเจ้าดารารัศมีมากรุงเทพฯ จึงเหมาะสมที่จะนำมาทำนิยาย ถือเป็นเสาเรื่องใหญ่ที่นำมาทำนิยายเป็นเสาหลัก เรื่องของเจ้านางเป็นเปลือกของเสา  ลงในสกุลไทยเป็นตอนๆ หนึ่งปีจึงรวมเล่ม

นวนิยายเข้ารอบซีไรท์ ?
ปิยะพร : ไม่คิดว่าจะเข้ารอบ มันคนละที่นั่งกัน มันเป็นนิยายรักทั่วไป ไม่เชื่อว่าจะผ่านเข้าไปได้ แยกให้ออกระหว่างเรื่องจริงกับนิยาย เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในหมู่นักวิชาการ เรื่องราวต่าง ๆ ตรงนี้ถูกนำไปใส่ในสะพานแสงคำ (เป็นนวนิยายตอนต่อของรากนครา) รายละเอียดบางอย่างนักวิชาการมองว่าผิด เช่น เจ้าน้อยศุภวงศ์ไปเรียนสิงคโปร์ รู้จักบริษัทบริติชบอร์เนียว ไม่มีเจ้าทางเหนือไปเรียนสิงคโปร์  เลยสมมติให้เจ้าน้อยเป็นบุตรบุญธรรมเจ้าคุณในบางกอกเพื่อไปเรียนสิงคโปร์

ฉากในละครที่พูดถึง ?
ปิยะพร : ฉากเชิดชักหุ่นกระดาษกษัตริย์เมืองมัณฑ์ แสดงให้เห็นว่าพระนางปัทมสุดายิ่งใหญ่อยู่เหนือคนทุกคนแม้แต่กษัตริย์ หรือเอาเท้าเหยียบมือมิ่งหล้าแสดงความเหนือกว่าทุกคนซึ่งไม่มีในนิยายเพิ่มมาตอนถ่ายทำ (มิ่งหล้าไม่รู้ตรงจุดนี้จึงกล้าต่อกรกับเจ้านางปัทมสุดา)

เมืองมัณฑ์ทำไมพูดภาษากลาง ?
น้ำฝน : ทุกเมืองพูดภาษาเหนือ แต่ต้องทำให้ต่างจากเมืองตรงจุดอื่นที่พูดภาษาเหนือ

การคัดเลือกนักแสดงผู้เขียนมีส่วนร่วมไหม ?
ปิยะพร : ไม่มี แต่รับรู้การคัดเลือกนักแสดง เพราะรายละเอียดของการสร้างละครมากกว่าการเขียนนิยาย ทางผู้สร้างจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบตลอด

พระนางศุภยรัตกับเจ้านางหลวงปัทมสุดา ?
ปิยะพร : เมืองในเรื่องเป็นเมืองสมมติหากเป็นเรื่องจริง คงไม่สามารถสร้างเรื่องราวทารุณที่มิ่งหล้าเจอได้ เพราะถ้าต้องติดภาพของบุคคลจริงไป ซึ่งในประวัติศาสตร์ไม่มีอยู่จริง

การเพิ่มลดตัวละครจากที่มีในนิยาย ?
ปิยะพร : อ้างถึง แดง ศัลยา การเติมตัวละครเพื่อให้พูดแทนตัวละครหลัก แต่ในเวอร์ชั่นนี้ ข่ายคำเดินทางไปเมืองมัณฑ์ด้วยพูดให้มิ่งหล้าบอกความคิดในใจตัวละครหลัก เวอร์ชั่นนี้เพิ่มตัวละครเข้าทำให้รู้ว่าเจ้าน้อยรักแม้นเมืองจริงๆ เติมละอองคำเข้าไป ทำให้รู้ว่าเจ้าน้อยรักเดียวใจเดียว ละอองคำจะแต่งงานกับจักรคำน้องเจ้าน้อย มีผลต่อนิยายตอนต่อ "สะพานแสงคำ"

การ "ทำความสะอาด" จากการถวายตัว ?
ปิยะพร : ยาคุมไม่มีทำอย่างไร เจ้านางหลวงไม่ต้องการให้ใครท้อง ใครไปถวายทำการรับใช้เจ้าหลวงต้องถูกทำความสะอาด แต่มิ่งหล้าท้าทายอำนาจเจ้านางหลวง หลอกเจ้านางหลวงจึงนำไปสู่จุดตกต่ำของตน

ฉากที่ประทับใจ ?
น้ำฝน : ฉากที่เกือบตาย อันนี้รอลุ้นในละคร ใช้เวลาถ่ายทำอย่างเดียว แปดเดือน ไม่รวมหาข้อมูล

ความสนุกเข้มข้นสามารถติดตามในละคร สัปดาห์นี้ออกอากาศติดต่อกัน ห้าวันเต็ม เริ่มศุกร์ถึงวันอังคารเสนอเป็นตอนจบ





วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การประชุมปฎิบัติการพัฒนาวิทยากร รุ่นที่ ๓ “ผสานพลังนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย”
ระหว่างวันที่ ๒๒ ถึง ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ได้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากร รุ่นที่ ๓ “ผสานนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย” การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรมตรัง และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
ช่วงแรกในวันแรกของการประชุมอบรม ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย กล่าวแนะนำองค์กร ภาคีเครือข่าย และกิจกรรมต่างๆ ที่ ศูนย์ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแนะนำการทำงานของคณะรัฐศาสตร์เกี่ยวกับโครงการอบรมครู
อ.ภาสุดา และอ.นำโชค นำกิจกรรมแนะนำตัว และต่อด้วย ผศ.อรรถพล นำอภิปรายถกเถียง เรื่อง ใครคือพลเมือง พลเมืองคือใคร? พลเมืองกับพลเมืองดีต่างกันอย่างไร พลเมืองดีและคนดีต่างกันอย่างไร? พลเมืองแบบไหนที่เราต้องการ? โดยให้ผู้ร่วมอบรมชมวิดีทัศน์ “การให้” ทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมากมายในหัว การกระทำของชายคนนี้เป็นสิ่งที่ดี มีความเป็นพลเมืองหรือไม่ แล้วถ้าเป็นพลเมืองควรเป็นพลเมืองระดับไหน รวมถึงบทบาทของรัฐที่หายไปในเรื่องการดูแลสังคมที่ปรากฏอยู่ในสื่อ วิธีการยกระดับพลเมืองรับผิดชอบที่ปรากฏในโฆษณาสู่พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมจะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ให้ผู้อบรมร่วมกันถกเถียงอภิปรายในสิ่งที่ตนเองคิด

จากนั้นเป็นการอภิปรายกลุ่ม “ประชาชน พลเมือง พลเมือง ราษฎร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร พลเมืองกับพลเมืองประชาธิปไตย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร สิทธิและหน้าที่ เสรีภาพและความรับผิดชอบ ความเสมอภาคและความเท่าเทียม การมีส่วนร่วมและการใช้เหตุผล ชุดคำเหล่านี้ถูกให้ความหมายในมุมมองของแต่ละคนไว้อย่างไรบ้าง ปิดท้ายกิจกรรมประจำวัน ด้วยการเขียน learning journal ถึงสิ่งที่ฉันจำได้ สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ และสิ่งที่ฉันสงสัย เมื่อถึงตรงนี้ยังมีหลายอย่างที่ยังสงสัยและอยากรู้ เราจะนำเนื้อหาที่ได้ปสอนอย่างไร แล้วนักเรียนจะมีความเป็นพลเมืองมากขึ้นหรือไม่
เช้าวันที่สองของการอบรมพัฒนาครู เรื่อง “ครูกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย” ผู้เข้าร่วมอบรมเปลี่ยนบรรยากาศมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.อรรถพล นำกระบวนการเรียนรู้ผ่าน“เกมตัดสินใจ”เพื่อพูดคุยถกเถียงถึงประเด็นถกเถียง ๔ ประเด็น คือ
                - ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดแบบตะวันตกจึงไม่เหมาะในการนำไปใช้กับทุกประเทศ
                - ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดทางการปกครองที่รับรองสิทธิเสรีภาพของพื้นฐานของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
                - มนุษย์ไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียม ประชาธิปไตยจึงเป็นการฝืนธรรมชาติของมนุษย์
                - ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด
โดยผู้เข้าร่วมสามารถเลือกตัดสินใจตามมุมมองความคิดเห็นของตนและร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมท่านอื่น ๆ
ช่วงสาย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ บรรยายและนำอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตย: ความหมาย หลักการ องค์ประกอบ และพัฒนาการ” มีประเด็นสำคัญ เช่น พัฒนาการประชาธิปไตยคือการขยายอำนาจของประชาชนและขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน แลเป็นการทำประชาชนให้เป็นพลเมือง เป็นการผสาน คนที่ถูก ไม่ถูกนับรวม ให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน” หากเปรียบเทียบรัฐเป็นคอมพิวเตอร์ ระบอบการปกครองก็เหมือนระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกันไป แต่ละระบอบก็ตามมาด้วยสิทธิพลเมือง เสรีภาพ ที่แตกต่างกัน”
สังคมประชาธิปไตยที่มีความบกพร่องและมีปัญหานั้นเป็นเรื่องปกติ การวัดวุฒิภาวะของสังคมประชาธิปไตย คือ การดูว่าสังคมจะแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไรต่างหาก”
ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ กรณีศึกษาพัฒนาการการเมืองการปกครองระหว่าง จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และไทย คำว่า We people ในรัฐธรรมนูญอเมริกา กับการตั้งคำถามว่าใครที่ถูกนับเป็น We บ้าง และการต่อสู้ของกลุ่มคน กว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งของคำว่า We รวมถึงการตั้งคำถามต่อสังคมไทย ต่อกระบวนการพัฒนาสังคมประชาธิปไตย พร้อมwalking tour ลงพื้นที่เรียนรู้พื้นที่ประวัติศาสตร์และบุคคลประวัติศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์



วันที่สามของการอบรมด้วยการสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนรู้เมื่อวานนี้ ทั้งในประเด็นความหมาย หลักการ องค์ประกอบของประชาธิปไตยและพัฒนาการประชาธิปไตยทั้งในแง่ความรู้และกระบวนการ
เรียนรู้ความหลากหลายผ่านประเด็นเรื่องเพศ” โดยคุณโตมร จากกลุ่มมานีมานะ ตัวฉัน กับความเป็นหญิงและความเป็นชาย พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การรับรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
พหุนิยม การเคารพสังคมที่หลากหลาย และการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ” โดย รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ กับการชตั้งคำถามถึงเสียงในสังคมประชาธิปไตย เสียงของเราเท่ากันจริงหรือไม่? อะไรบ้างที่ทำให้เสียงของเราไม่เท่ากัน? ความแตกต่าง ความหลากหลายทางสังคม ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสังคมที่มีระดับชั้น วิธีการจัดการกับความแตกต่างหลากหลายในสังคมมนุษย์
ช่วงบ่าย
ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจ โดย อ.ดร.ประพิมพ์ฝัน เชียงกูล
                พัฒนาการความเป็นประชาธิปไตยในมิติด้านเศรษฐกิจ มุมมองแบบเสรีนิยมที่มีผลต่อการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ การตั้งคำถามกับระบบทุน การทำงานขององค์กรระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความไม่เท่าเทียมทางสังคมโดยรวม บทบาทของรัฐและกลไกทางสังคมในการเข้ามาจัดการเรื่องความไม่เท่าเทียมที่เป็นผลกระทบมาจากพัฒนาทางเศรษฐกิจ พูดคุย แลกเปลี่ยน และนำเสนอมุมมองความเชื่อมโยงระหว่างชุดคำสำคัญต่าง ได้แก่ สังคมนิยม ทุนนิยม เสรีนิยม ประชาธิปไตย และเผด็จการ การแต่งงานกันของระบบเศรษฐกิจและการเมือง
วันสุดท้ายของการอบรมด้วยการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดอบรมเมื่อวานในประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างประชาธิปไตยกับความแตกต่างหลากหลาย และประชาธิปไตยกับเศรษฐกิจ "ประชาธิปไตย ความยุติธรรมทางสังคม และการสร้างสังคมที่ปราศจากการแบ่งแยกกีดกัน"  โดย ผศ.ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า
กรณีศึกษา พระราชกำหนดแรงงานต่างด้าว กับการตีโจทย์ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับความเป็นมนุษย์พลเมืองคือใคร อะไรบ้างที่เป็นตัวกำหนดความเป็นพลเมือง การใช้สิทธิความเป็นพลเมืองในสังคม อัตลักษณ์ของส่วนรวม รัฐชาติกับการกำหนดความเป็นพลเมือง ความสั่นคลอนของรัฐชาติในการกำหนดกรอบความเป็นพลเมืองในโลกโลกาภิวัตน์ อำนาจเหนือรัฐชาติ กับคำถามสำคัญในประเด็นสิทธิพลเมืองกับการอิงกับเขตแดนของรัฐชาติสิทธิมนุษยชนกับการได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์ และแนวคิดเรื่องพลเมืองข้ามชาติ

ช่วงบ่ายของวันสุดท้าย
ทบทวนความหมายของคำว่าพลเมืองที่ได้จากการอบรมตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย จากนั้นแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมตามลักษณะงาน ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ครูประถมศึกษา และครูมัธยมศึกษา ระดมสมองในประเด็น
                - สิ่งที่ได้เรียนรู้ (what do we know?)
                - สิ่งที่สงสัย (What do we want to know/learn?)
                - สิ่งที่จะนำกลับไปใช้ในการทำงาน (Yes!! We will do.)
กล่าวปิดการอบรมพัฒนาครู เรื่อง “ครูกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย” โดย รศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ้างอิง
ข้อมูลจากhttps://www.facebook.com/thaiciviceducationcenter/?hc_ref=ARRwg4YfzEPc1O8jAsmYIJwKyxPSUoZmahplAYrUUveCQgr_fvUiNElZBC32FPRwYa4




วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

ชีวิตรันทดของผู้ลี้ภัยซีเรีย



ชีวิตรันทดของผู้ลี้ภัยซีเรีย

เรื่องราวน่ารันทดใจของกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยชาวซีเรียที่ต้องเจอกับอุปสรรคนานากว่าจะมีที่ยืนในยุโรปได้ไม่ใช่เรื่องง่าย

Illham alarabi เป็นหนึ่งผู้หญิงที่ไม่ย่อท้อต่อทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตของคนเป็นแม่ เธอโดดเดี่ยวจากการอยู่ร่วมกับลูกชายที่่ปวดฟันจากการที่ฟันงอกขึ้นมาใหม่ อาบน้ำลูกเล็กที่่พึ่งเกิด และตอนนี้ที่จะเตรียมอาหารที่อยู่บนเตาให้พร้อมแดก

การเดินทาง ๑,๕๐๐ ไมล์จากหมู่บ้าน Deirez-Zar ที่ถูกทิ้งระเบิดในซีเรียมายังกรีซเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่ Illham ได้ปลอบโยนครอบครัวของเธอด้วยความเชื่อมั่นที่ว่าพวกเขามุ่งหน้ามาเพื่อหาในสิ่งที่ดีกว่า แม้แต่ชีวิตในค่ายลี้ัภัยที่เธอตั้งครรภ์ลูกคนที่ห้าในนั้นกว่าแปดเดือน โอกาสที่จะสร้างเพื่อนในชุมชน และหาสิ่งที่ดีกว่ายากมาก อาหารก็ไม่ดี สุขาต้องเดินฝ่าหิมะไปเข้าส้วม

แต่หลังจากนั้นสามปีที่เธอยังมองโลกในแง่ดีหลังจากที่ลี้ภัยเข้าไปในตุรกีก่อนที่จะมายังกรีซที่สุดเธอก็ยอมแพ้เดือนมีนาคม เธอทรุดตัวลงนั่งบนเก้าอี้ในห้องพักแห่งหนึ่งที่อยู่ตอนเหนือของกรีซ เธอมองดูลูกชายคนสุดท้องนอนอยู่บนเตียงที่ติดกับผนัง ที่ลูกคนอื่นไม่นอน

ลูกชายวัยเจ็ดขวบไม่เคยเดินไปโรงเรียน เขาบอกว่า เขาต้องการเป็นครูเมื่อเขาโตขึ้น แต่เขาพยายามที่จะเขียนคำภาษาอาหรับง่ายๆ เช่น BaBa ในภาษาอาหรับที่แปลว่าพ่อ ผู้เป็นพ่อกล่าวว่า "ถ้าเรานำเด็กเหล่านี้ไปโรงเรียน เด็กเหล่านี้คงรู้ภาษากรีซไปนานแล้ว"

เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียอีกหลายหมื่นคนที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่วง สองสามปีที่ผ่านมา Minbel Alsaleh ย้ายมายุโรป เป็นแผนหนึ่งองอียูที่จะกระจายผู้ี้ภัยไปยังส่วนต่างๆ ของทวีปเพื่อลดภาระประเทศชั้นนำที่คอยช่วยเหลือผู้ลี้ภัย จะเกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยขึ้นในยุโรป แต่ประตูที่ยุโรปเปิดอยู่กำลังจะปิดลง ผู้อพยพกว่า ๒๗,๐๐๐ คนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในกรีซ ซึ่งการประมวลผลปี ๒๕๕๘ เมื่อมีการใช้ข้อตกลงครั้งแรกไม่น่าจะเป็นไปได้ส่วนที่เหลือจะย้ายเข้ามาในกันยายนปี ๒๕๖๐ ขณะที่การเลือกตั้งกำลังจะมีขึ้นในฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งทั้งสองประเทศเป็นประเทศแกนนำที่คอยช่วยเหลือผู้ลี้ัย แต่กระนั้นมีผู้สมัครท้าชิงออกมาหาเสียงต่อต้านผู้อพยพย้ายถื่น

ชาวซีเรียหลายคนที่อพยพไปยังประเทศอื่นมีทีท่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจในเดือนมีนาคมมีผู้อพยพมากกว่า ๕ ล้านคนในประเทศตุรกี เลบานอน จอร์แดน และอิยิปต์ และในยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น ๘๘๔,๔๖๑ คนด้วยการรบอันหนักหน่วงและใช้อาวุธชีวภาพในจังหวัด Idlib เมือวันที่ ๔ เมษาที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แต่จากข้อตกลงที่อียูทำกับตุรกีทำให้ผู้ลี้ภัยเข้าไปในยุโรปลดลง แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีความเสี่ยงพอๆกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากการปราบปรามผู้ต่อต้านประธานาธิบดี Recep Tayyi

ในที่สุด Illham แลละ Minhel ได้รับการตอบรับจากหน่วยบริการจากขั้นตอนการสมัครที่สับสน แม้ว่าทั้งสองจะมีครอบครัวที่เยอรมัน ซึ่งเป็นรายชื่อประเทศที่ทั้งสองต้องการเข้าไปอยู่ แต่เดือนกุมภาพันธ์พวกเขาทั้งคู่ถูกจับให้ไปอยู่ในลิทัวเนีย เป็นการจัดโดยพลการ เธอทั้งสองไปพอใจในสิ่งที่รับ "เป็นประเทศที่มีประชากรน้อยกว่าอเลปโปครึ่งหนึ่ง" "มีประธานาธิบดีเป็นผู้หญิงด้วยหรือไม่"

ในความเป็นจริงสิ่งที่พวกเธอกังวลคือเรื่องปัญหาปากท้องแลละลิทัวเนียเองก็มีอัตราการว่างงานสูงมาก แต่ในเวลาเดียวกันพวกเธอก็รู้สึกโล่งใจที่การเดินทางของพวกเธอในการค้นหาความปลอดภัยและความมั่นคงในที่สุดก็มาถึงจุดสิ้นสุด "ฉันได้มาอยู่ในลิทัวเนียอาจจะไม่ดีนัก แต่อย่างน้อยก็เป็นการก้าวต่อไปข้างหน้า" Minhel กล่าวอีกว่า "และคงไม่มีสิ่งใดสำคัญกว่าที่ลูกๆ จะได้ไปโรงเรียน

ภาพจาก http://www.tnews.co.th/





เพลิงพระนาง "ตั่งทอง" แล "หอคำ"สัญลักษณ์แห่งอำนาจ ?


เพลิงพระนาง
เพลิงพระนางหาใช่ละครตบตี แย่งผัวไม่ (ถึงเขียนเยอะและยาวโปรดอ่านก่อน) ๕๕ ไม่รู้ว่ายิ่งอ่านยิ่งงงหรือไม่ แต่นี่เป็นความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากการรับชมละครครบทั้ง ๒๖ ตอน

"ไฟริษยา อาฆาตไม่เคยเป็นผลดีแก่ใคร เพราะนอกจากจะทำให้จิตใจของตนร้อนรุ่มแล้ว ยังเป็นเพลิงเผาผลาญบุคคลอื่นๆ ด้วย บ้านเมืองใดมีแต่คนริษยา อาฆาต ขาดความสามัคคี และปราศจากการให้อภัยซึ่งกันและกัน บ้านเมืองนั้นก็เหมือนมีแต่ไฟ เผาผลาญจนสูญสิ้นไป"

เป็นข้อความสุดท้ายที่ขึ้นหลังจากตอนจบละครเพลิงพระนาง ปีพ.ศ.๒๕๓๙ เป็นข้อความที่ต้องการให้ผู้รับสารซึ่งก็คือผู้ชมละครเข้าใจแก่นของละครเพลิงพระนางได้รับทราบว่า อำนาจ ริษยา การตบตี ด่าทอ ล้วนแล้วแต่ไม่เกิดผลดีใดใดทั้งสิ้นทั้งผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำ จงให้อภัยซึ่งกันและกัน มิเช่นนั้นไฟแห่งกิเลสจะเผาผลาญจนไม่เหลือสิ่งใดเลยทั้งตนเองและบ้านเมืองเยี่ยงเจ้าอนัญทิพย์ ถึงจะปล่อยว่างลงบ้างแล้ว แต่เรื่องการยึดติดสิ่งที่พระบิดาเคยทำไว้ยังไม่หมดไป จนวาระสุดท้ายต้องสิ้นชีวิตบนตั่งทอง

"ตั่งทอง" แล "หอคำ"สัญลักษณ์แห่งอำนาจ ?
"หอคำของกู" "ตั่งทองของกู" คำพูดสุดท้ายของเจ้าอนัญทิพย์ทำให้เห็นว่าตั่งทองและหอคำเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของเมืองทิพย์ตามความเข้าใจของเจ้าทิพย์เองมันมีค่ามาก มันแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต และยิ่งด้วยชีวิตบุคคลที่นางรักนั้นคือเจ้าหลวงปิตุลาพระราชบิดาของนาง ด้วยลักษณะนิสัยตัวละครหรือ Character เจ้าทิพย์ถือตัวว่าดีสูง มีทิฐิสูง แรงมาแรงกลับไม่ยอมใคร แต่สิ่งหนึ่งที่บทละครทำให้ผู้ชมเข้าใจมากยิ่งขึ้นในเรื่องของอำนาจนั้นก็คือ สัญลักษณ์ของอำนาจอย่างตั่งทองและหอคำหาสำคัญเท่ากับการดำรงอยู่ในอำนาจ เพราะได้อำนาจมาแม้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ แต่ถ้าผู้นำไม่สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจราษฎรได้ย่อมมิใช่ผู้นำที่สมบูรณ์ ผู้นำที่ดีต้องอยู่ในใจประชา "เสกขรเทวี" เป็นตัวละครที่สะท้อนมุมมองในเรื่องของอำนาจ ออกมาตรงกันข้ามกับเจ้าอนัญทิพย์ เสขรเทวีเน้นพระคุณ แต่เจ้าอนัญทิพย์เน้นพระเดช หากชมละครทุกตอน สาระสำคัญตรงนี้ละครทำได้ไม่พลาดอันเป็นผลมาจากบทละครที่แข็งแรงนั้นเอง

มาในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทละครว่าเป็นอย่างไร เพลิงพระนางเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง ๗ สี มีความยาวที่ออกอากาศ ๒๖ ตอน เขียนบทละครโทรทัศน์โดย "ภาคย์รพี"
บทสนทนา และ ความรุนแรง
จิกหัวเรียกอี กู มึง ถือว่าไม่สุภาพยิ่งตัวละครที่มีบรรดาศักดิ์สูงเป็นเจ้าด้วยแล้วยิ่งไม่ควร แต่เหตุใดจึงปรากฎออกสู่โสตของผู้ชมได้ อาจจะเป็นเพราะด้วยเนื้อหาที่เกิดในเมืองสมมติไม่จำเป็นที่จะต้องยึดความถูกต้องของภาษามากนักกอปรกับฐานผู้ชมละครจำนวนไม่น้อยที่เน้นสีสันฉูดฉาดของละครจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนระดับภาษาเพื่ออรรถรสในการรับชม และเหนือสิ่งอื่นใดบทละครสอดแทรกบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรมอันดีให้แก่ผู้ชมด้วย นอกจากจะได้อรรถรสยังจรรโลงจิตใจผู้ชม เช่น คำพูดที่มาจากเสกขรเทวี

การดำเนินเรื่องที่เข้มข้น (สำคัญสุด น่าจะเป็นจุดที่คิดเยอะสุด)
การให้อภัย ริษยา อาฆาตเป็นหลักใหญ่ แก่นรองลงมาก็เรื่องความครอบครัวการอบรมเลี้ยงดูลูกเยี่ยงปิ่นมณีใช้ความแค้นเลี้ยงแทนความเมตตา แม่ปกป้องลูกถูก แต่แม่ปกป้องเมื่อลูกทำสิ่งไม่ควรนั้นผิดปรากฎในเรื่องหลายส่วนเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำออกมาดี ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญในทุกตอนต้องมีจุดสุดยอด climax ด้วยเพื่อให้ดำเนินได้อย่างน่าติดตามไม่ยืดมากนัก (เห็นแต่จะมีแค่ตอนสี่ ห้าที่มัวแต่ตบกันเลยไม่ทำให้เนื้อเรื่องไปไหนเท่าไร) การทำให้คนดู "ลุ้น" การตัดต่อช่วยให้พีคได้ ถ้าดูจะเข้าใจว่าอารมณ์พีคเป็นอย่างไร ดูละครมันลุ้นมากจนไม่อยากลุกไปไหนกลัวพลาดอะไรทำนองเนี่ย เพลิงพระนางทำได้ ตัวละครเยอะเกลี่ยบทดี ทุกตัวละครมีบทบาทคนดูจำได้ และเมื่อตัวละครเยอะจำเป็นต้องหาทางลงให้กับตัวละครเมื่อจบได้ด้วย ทุกตัวละครสำคัญมีทางไปหมดและเป็นที่จดจำ เจ้าสำเภางาม เมืองคุ้ม ตองนวล และพีคสุดคืออนัญทิพย์

ละครเพลิงพระนางมิได้เป็นละครตบตี แย่งผัวตามที่คนไม่ได้ดูชมเข้าใจ แต่ละครพยายามบอกแก่นของเรื่องที่ว่าคนเราต้องรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกันไม่ริษยาคิดร้ายต่อกัน มีปัญหากล้าที่จะเผชิญหน้า พูดตรงๆ เข้าใจกันและกัน นึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ มิเช่นนั้นแล้วบ้านเมืองอาจยากเกินเยียวยาแก้ไข เฉกเช่นเดียวกันกับเมืองทิพย์ที่ขาดความสมัครสมานสามัคคีจนสิ้นเสียแผ่นดินให้แก่ดั้งขอก็เป็นได้


วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

เรียนรู้ประวัติศาสตร์การบินของไทยผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติไทย

เรียนรู้ประวัติศาสตร์การบินของไทยผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติไทย

๙ เมษายนของทุกปีเป็นวันที่ลูกทัพฟ้าให้ความสำคัญ เพราะเป็นวันคล้ายวันสถาปนากองทัพอากาศ และเรียกวันนี้ว่าเป็น “วันกองทัพอากาศไทย” ด้วยความสำคัญนี้ทางคณะครูบางส่วนของทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงความยินดี และเยี่ยมชมสถานที่ที่แสดงความเป็นมาอันทรงเกียรติที่กองทัพอากาศมีคุณูปการต่อประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติไทย ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ โดยพื้นที่จัดแสดงแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน  ๓ ส่วนแรกจัดแสดงภายในอาคารที่ดัดแปลงจากโรงจอดเก็บเครื่องบิน อีกส่วนเป็นพื้นที่กลางแจ้งจัดแสดงเครื่องบินและอาวุธยุทโธปกรณ์
ส่วนแรกจัดแสดงประวัติความเป็นมาของการบินแห่งชาติก่อนที่จะพัฒนามาเป็นกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน ที่น่าตื้นตันใจคือจัดแสดงโต๊ะทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๑ ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคยบังคับบินมาแล้วจัดแสดงร่วมด้วย

เมื่อเดินผ่านเข้าไปในอาคารจะพบเครื่องบินสองลำที่ถูกทำขึ้นใหม่ ซึ่งจำลองมาจากเครื่องบินนิเออปอรต์ปิกชั้นเดียว และเครื่องบินเบรเกต์ ๓ ความมหัศจรรย์ของเครื่องบินทั้งสองลำที่นอกจากจะเป็นเครื่องบินสองแบบแรกของไทยแล้วคือเป็นเครื่องบินที่บุด้วยผ้าใบ ไม่น่าเชื่อว่าผ้าใบจะนำมาเป็นวัสดุทำเครื่องบินได้ และคลาสสิกอีกอย่างคือเครื่องบินทั้งสองมีใบพัดที่ทำจากไม้นับได้ว่าเป็นจ้าวเวหายุคแรกๆ ของโลกการบินจริงๆ ยังจัดแสดงรูปภาพของบุคคลสำคัญที่สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการการบินของไทยอย่างมากมาย ทั้งคนไทยคนแรกที่ทำการบินจากรุงเทพไปอินเดีย เป็นต้น มีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการสร้างเครื่องบิน ความรู้ใหม่ที่ไม่ทราบอย่างเช่น การประสานเนื้อไม้หรือชิ้นส่วนที่ทำเครื่องบินจะใช้ยางจากเปลือกของต้นบงมาเป็นตัวเชื่อม รวมไปถึงเครื่องแบบของทหารอากาศยุคแรกที่ยังอยู่ในสังกัดของกองทัพบกว่าเป็นอย่างไร

จากที่กล่าวมายังจัดแสดงเครื่องบินหลายลำ หลายรุ่น แต่รุ่นที่จะเป็นที่สนใจมากที่สุดคือเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๗  (เอฟ-๘๖ เอฟ) ซึ่งกองทัพได้รับมาจากสหรัฐอเมริกา ถ้าจำได้ในละครเรื่อง คุณชายรณพีร์ พระเอกของเรื่องก็ขับลำนี้ด้วย โก้มากๆ ขับเครื่องบินขับไล่ สักเกตดีๆ จะเห็นว่าเครื่องบินจะมีรูปงูเห่า หรือสัตว์อื่นติดอยู่ เพื่อที่จะให้ทราบว่าเป็นเครื่องบินที่สังกัดอยู่ที่กองบินจังหวัดไหน เช่น งูเห่าสังกัดกองบินตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ รูปเสือ สังกัดกองบิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

ส่วนที่สองจัดแสดงเครื่องบินรบสมัยใหม่เป็นไฮไลค์ในจุดนี้หนีไม่พ้นเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ของสหรัฐอเมริกา และเครื่องบินขับไล่กริฟเพนท์จากประเทศสวีเดน จุดนี้ผู้เข้าชมสามารถยืนถ่ายรูปได้ ท่าไหนก็ได้เจ้าหน้าที่ช่วยได้

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติไทย เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคารถึงอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐น. หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ที่ประทับใจคือวิทยากรใจดี เป็นกันเอง ให้ความรู้ได้ตลอดเวลารับรองไปแล้วไม่เสียเที่ยว


ภายในพิพิธภัณฑ์


ปลอกกระสุนปืน วิทยากรเล่าว่าหากทหารสิ้นชีพในการรบเพื่อเป็นเกียรติแด่ทหารจะนำอัฐิบางส่วนมาใส่ในปลอกกระสุนนำไปบรรจุอนุสาวรีย์สำคัญๆ ที่เกี่ยวกับนายทหารผู้นั้น


เครื่องแต่งกายทหารอากาศเมื่อยังสังกัดอยู่กับทหารบก

เปลือกบงใช้เชื่อมต่อส่วนประกอบเครื่องบินแบบเก่า